ก้อง

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี
ดูเพิ่ม: กอง, กฺอง, กฺ้อง, ก่อง, และ ก๋อง

ภาษาไทย[แก้ไข]

การออกเสียง[แก้ไข]

การแบ่งพยางค์
{ไม่ตามอักขรวิธี; เสียงสระสั้น}
ก็้อง
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงgɔ̂ng
ราชบัณฑิตยสภาkong
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/kɔŋ˥˩/(สัมผัส)

รากศัพท์ 1[แก้ไข]

ร่วมเชื้อสายกับภาษาลาว ກ້ອງ (ก้อง), ภาษาไทลื้อ ᦂᦸᧂᧉ (ก้อ̂ง), ภาษาไทใหญ่ ၵွင်ႈ (ก้อ̂ง), ภาษาอาหม 𑜀𑜨𑜂𑜫 (กอ̂ง์)

คำคุณศัพท์[แก้ไข]

ก้อง (คำอาการนาม ความก้อง)

  1. ดังมากอย่างเสียงในที่จำกัดเช่นในโบสถ์, ดังไปได้ไกล
    เขาตะโกนก้องมาจากที่สูง

รากศัพท์ 2[แก้ไข]

ยืมมาจากภาษาจีนกลาง (gòng)[1]

คำนาม[แก้ไข]

ก้อง

  1. บรรณาการ ในคำว่า จิ้มก้อง

คำกริยา[แก้ไข]

ก้อง (คำอาการนาม การก้อง)

  1. (โบราณ) อ่อนน้อมเจริญพระราชไมตรี
    พระเจ้ากรุงไทยแต่งขุนนางไปก้องกรุงปักกิ่ง
    (ประกาศ ร. ๔)

อ้างอิง[แก้ไข]

ภาษาคำเมือง[แก้ไข]

คำนาม[แก้ไข]

ก้อง

  1. อีกรูปหนึ่งของ ᨠᩖᩬ᩶ᨦ (กลอ้ง, ปืนเล็กยาว)