ขวา

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี
ดูเพิ่ม: ขว้า และ ขว้ำ

ภาษาไทย[แก้ไข]

รูปแบบอื่น[แก้ไข]

รากศัพท์[แก้ไข]

ยืมมาจากภาษาจีนเก่า (OC *ɢʷɯʔ, *ɢʷɯs); ร่วมเชื้อสายกับภาษาคำเมือง ᨡ᩠ᩅᩣ (ขวา), ภาษาปักษ์ใต้ ขว้า, ภาษาลาว ຂວາ (ขวา), ภาษาไทลื้อ ᦧᦱ (ฃฺวา), ภาษาไทขาว ꪄꪫꪱ, ภาษาไทใหญ่ ၶႂႃ (ขฺวา), ภาษาจ้วง gvaz, ภาษาปู้อี gvaz

การออกเสียง[แก้ไข]

การแบ่งพยางค์ขฺวา
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงkwǎa
ราชบัณฑิตยสภาkhwa
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/kʰwaː˩˩˦/(สัมผัส)

คำคุณศัพท์[แก้ไข]

ขวา

  1. ตรงข้ามกับ ซ้าย, ถ้าหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ด้านทิศใต้เรียกว่า ด้านขวามือ ด้านทิศเหนือ เรียกว่า ด้านซ้ายมือ, ถ้าหันหลังไปทางต้นน้ำหรือยอดน้ำ ด้านขวามือเรียกว่า ฝั่งขวา ด้านซ้ายมือเรียกว่า ฝั่งซ้าย
  2. คู่กับซ้าย แต่ใหญ่กว่าหรือสำคัญกว่า
    มเหสีฝ่ายขวา
    อัครสาวกฝ่ายขวา

คำนาม[แก้ไข]

ขวา

  1. เรียกกลุ่มที่มีอุดมคติทางการเมืองการเศรษฐกิจเป็นต้นโน้มไปทางอนุรักษนิยมว่า ฝ่ายขวา

คำตรงข้าม[แก้ไข]