คล้อย

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี

ภาษาไทย[แก้ไข]

รากศัพท์[แก้ไข]

ร่วมเชื้อสายภาษาอีสาน คล้อย หรือ ค้อย, ภาษาลาว ຄ້ອຍ (ค้อย), ภาษาคำเมือง ᨣᩖᩬ᩠᩶ᨿ (คลอ้ย), ภาษาเขิน ᨣᩭ᩶ (คอย้), ภาษาไทลื้อ ᦅᦾᧉ (ค้อ̂ย), ภาษาไทใหญ่ ၵွႆႉ (ก๎อ̂ย, โค้ง)

การออกเสียง[แก้ไข]

การแบ่งพยางค์คฺล้อย
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงklɔ́ɔi
ราชบัณฑิตยสภาkhloi
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/kʰlɔːj˦˥/(สัมผัส)

คำกริยาวิเศษณ์[แก้ไข]

คล้อย

  1. เพิ่งพ้นจากที่กำหนดไป
    เขาเพิ่งเดินคล้อยไปเมื่อสักครู่นี้

คำกริยา[แก้ไข]

คล้อย (คำอาการนาม การคล้อย)

  1. บ่าย, ชาย
  2. เรียกอาการที่ดวงตะวันเลยเที่ยงไปแล้วว่า ตะวันคล้อย
  3. เรียกอาการที่ดวงจันทร์เลยเที่ยงคืนไปแล้วว่า เดือนคล้อย
  4. หย่อนลง, ลดต่ำ
  5. เรียกนมที่หย่อนลงเล็กน้อยว่า นมคล้อย

ดูเพิ่ม[แก้ไข]