คอ

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี
ดูเพิ่ม: คือ, คือํ, ค่อ, และ ค้อ

ภาษาไทย[แก้ไข]

รูปแบบอื่น[แก้ไข]

  • (เลิกใช้) ฅอ

รากศัพท์[แก้ไข]

สืบทอดจากภาษาไทตะวันตกเฉียงใต้ดั้งเดิม *ɣɔːᴬ², จากภาษาไทดั้งเดิม *ɣoːᴬ, จากภาษาจีนยุคกลาง (MC huw, “กล่องเสียง; ลำคอ”); ร่วมเชื้อสายกับภาษาคำเมือง ᨤᩬᩴ (ฅอํ), ภาษาเขิน ᨤᩳ (ฅอ), ภาษาลาว ຄໍ (คํ), ภาษาไทดำ ꪁꪷ (ก̱ํ), ภาษาไทใหญ่ ၶေႃး (ข๊อ̂), ภาษาไทใต้คง ᥑᥨᥝᥰ (โฃ๊ว), ภาษาพ่าเก ၵေႃ (ขอ̂), ภาษาอาหม 𑜁𑜦𑜡 (ขอ̂) หรือ 𑜁𑜞𑜦𑜡 (ขฺรอ̂), ภาษาจ้วง hoz, ภาษาแสก กฺ๊อ

การออกเสียง[แก้ไข]

การแบ่งพยางค์คอ
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงkɔɔ
ราชบัณฑิตยสภาkho
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/kʰɔː˧/(สัมผัส)
คำพ้องเสียง

คำนาม[แก้ไข]

คอ

  1. ส่วนของร่างกายที่ต่อศีรษะกับตัว
  2. ส่วนของภาชนะที่คอดอยู่ระหว่างตัวกับปาก
    คอหม้อ
  3. เรียกส่วนลำต้นของพรรณไม้วงศ์ปาล์มที่อยู่ระหว่างใบล่างสุดกับยอด
    คอมะพร้าว
    คอตาล
  4. โดยปริยายหมายความว่า ความมีใจชอบเสพสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นอาจิณ
    คอเหล้า
    คอเบียร์
    คอหนัง
    คอละคร

การใช้[แก้ไข]

ส่วนของร่างกาย ราชาศัพท์ว่า พระศอ พระกัณฐ์ พระกัณฐา หรือ พระกรรฐ์

คำแปลภาษาอื่น[แก้ไข]

ภาษาเขมรเหนือ[แก้ไข]

รากศัพท์[แก้ไข]

ยืมมาจากภาษาแต้จิ๋ว (kou3); ร่วมเชื้อสายกับภาษาเขมร ខោ (โข)

การออกเสียง[แก้ไข]

คำนาม[แก้ไข]

คอ

  1. กางเกง