ชั้น

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี

ภาษาไทย[แก้ไข]

ชั้น (ที่วางของ)

การออกเสียง[แก้ไข]

การแบ่งพยางค์ชั้น
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงchán
ราชบัณฑิตยสภาchan
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/t͡ɕʰan˦˥/(สัมผัส)

รากศัพท์ 1[แก้ไข]

สืบทอดจากภาษาไทตะวันตกเฉียงใต้ดั้งเดิม *ɟanꟲ⁴; ร่วมเชื้อสายกับภาษาคำเมือง ᨩᩢ᩠᩶ᨶ (ชั้น), ภาษาลาว ຊັ້ນ (ซั้น), ภาษาไทลื้อ ᦋᧃᧉ (ชั้น) หรือ ᦶᦋᧃᧉ (แช้น), ภาษาไทใหญ่ ၸၼ်ႉ (จั๎น), ภาษาอาหม 𑜋𑜃𑜫 (ฉน์)

ในอนุกรมวิธาน ยืมความหมายจากภาษาอังกฤษ class; เป็นศัพท์บัญญัติสำนักงานราชบัณฑิตยสภา

คำนาม[แก้ไข]

ชั้น

  1. ที่สำหรับวางของอย่างหนึ่ง มีพื้นซ้อนกันคล้ายตู้แต่ไม่มีบานปิด
  2. ขั้นที่ลดหลั่นกันหรือซ้อนกัน
    ชั้นดิน
    ชั้นหิน
  3. สถานภาพทางสังคมที่ไม่เสมอกัน
    ชนชั้นกลาง
    ชนชั้นกรรมาชีพ
  4. ขั้น, ตอน
    เรื่องดำเนินมาถึงชั้นศาลแล้ว
  5. ระดับ
    มือคนละชั้น
  6. (อนุกรมวิธาน) ระดับอนุกรมวิธานหนึ่ง อยู่ใต้ไฟลัม (phylum) และเหนืออันดับ (order); หน่วยอนุกรมวิธานในระดับดังกล่าว

คำลักษณนาม[แก้ไข]

ชั้น

  1. เรียกขั้นที่ลดหลั่นกันหรือซ้อนกัน
    ฉัตร 5 ชั้น
    บ้าน 2 ชั้น

คำคุณศัพท์[แก้ไข]

ชั้น

  1. ที่ซ้อนทับกัน
    ขนมชั้น
    หินชั้น

รากศัพท์ 2[แก้ไข]

แผลงมาจาก ฉัน

คำสรรพนาม[แก้ไข]

ชั้น

  1. (ภาษาปาก) ฉัน