ชี้

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี
ดูเพิ่ม: , ช., ชิ, ชี, ชุ, ชู, และ ชู้

ภาษาไทย[แก้ไข]

รากศัพท์[แก้ไข]

สืบทอดจากภาษาไทดั้งเดิม *ɟiːꟲ, จากภาษาจีนยุคกลาง (MC tsyijX); ร่วมเชื้อสายกับภาษาคำเมือง ᨩᩦ᩶ (ชี้), ภาษาลาว ຊີ້ (ซี้), ภาษาไทลื้อ ᦋᦲᧉ (ชี้), ภาษาไทดำ ꪋꪲ꫁ (จิ้̱), ภาษาไทใหญ่ ၸီႉ (จี๎), ภาษาอาหม 𑜋𑜣 (ฉี), ภาษาจ้วง cij, ภาษาจ้วงแบบหนง jix, ภาษาจ้วงแบบจั่วเจียง jij; เทียบภาษาเวียดนาม chỉ และ chĩa

การออกเสียง[แก้ไข]

การแบ่งพยางค์ชี้
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงchíi
ราชบัณฑิตยสภาchi
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/t͡ɕʰiː˦˥/(สัมผัส)

คำกริยา[แก้ไข]

ชี้ (คำอาการนาม การชี้)

  1. เหยียดนิ้วชี้เป็นต้นตรงไปที่ใดที่หนึ่งเพื่อให้เห็นสิ่งที่ต้องการ
  2. เหยียดตรง
    หางชี้
  3. แนะนำ, บอกให้
    ชี้ทาง