ทา

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี
ดูเพิ่ม: ทำ, ท่า, และ ท้า

ภาษาไทย[แก้ไข]

รากศัพท์[แก้ไข]

สืบทอดจากภาษาไทดั้งเดิม *daːᴬ, จากภาษาจีนยุคกลาง (MC drae); ร่วมเชื้อสายกับภาษาคำเมือง ᨴᩤ (ทา), ภาษาลาว ທາ (ทา), ภาษาไทลื้อ ᦑᦱ (ทา), ภาษาไทดำ ꪕꪱ (ต̱า), ภาษาไทใหญ่ တႃး (ต๊า), ภาษาอาหม 𑜄𑜠 (ตะ), ภาษาจ้วง daz,ภาษาจ้วงใต้ taz

การออกเสียง[แก้ไข]

การแบ่งพยางค์ทา
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงtaa
ราชบัณฑิตยสภาtha
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/tʰaː˧/(สัมผัส)
ไฟล์เสียง

คำกริยา[แก้ไข]

ทา (คำอาการนาม การทา)

  1. คำรวมหมายถึงกิริยาอาการที่เอาของเปียกหรือของเหลวเป็นต้นฉาบ ลูบ ไล้ ป้าย หรือบ้าย
    ทาสี
    ทาแป้ง
    ทาปาก
    ทายา

การใช้[แก้ไข]

ถ้าทาเกลือกหรือเคลือบแต่ผิว ๆ ก็เรียกว่า ฉาบ, ถ้าทาโดยใช้ฝ่ามือทาบลงแล้วเลื่อนไปมาก็เรียกว่า ลูบ, ถ้าทาโดยละเลงทั่ว ๆ ไป ก็เรียกว่า ไล้, ถ้าทาให้ติดเฉพาะที่ใดที่หนึ่ง ก็เรียกว่า ป้าย หรือ บ้าย