บวก

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี
ดูเพิ่ม: บ̱วก

ภาษาไทย[แก้ไข]

วิกิพีเดียมีบทความเกี่ยวกับ:
Wikipedia

การออกเสียง[แก้ไข]

การแบ่งพยางค์บวก
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงbùuak
ราชบัณฑิตยสภาbuak
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/bua̯k̚˨˩/(สัมผัส)

รากศัพท์ 1[แก้ไข]

ยืมมาจากภาษาเขมรเก่า បូក (ปูก); ร่วมเชื้อสายกับภาษาเขมร បូក (บูก), ภาษาลาว ບວກ (บวก)

คำกริยา[แก้ไข]

บวก (คำอาการนาม การบวก)

  1. เอาจำนวนหนึ่งรวมเข้ากับอีกจำนวนหนึ่งหรือหลายจำนวนให้เป็นจำนวนเพิ่มขึ้นจำนวนเดียวกัน
  2. เพิ่มเติมเข้าไป

คำคุณศัพท์[แก้ไข]

บวก

  1. ที่เป็นไปในทางสนับสนุน ทางดี หรือเชิงสร้างสรรค์
    มองในทางบวก
  2. (คณิตศาสตร์) เรียกจำนวนเลขที่มีค่ามากกว่าศูนย์ ว่า จำนวนบวก

คำนาม[แก้ไข]

บวก

  1. เรียกเครื่องหมายคณิตศาสตร์รูปดังนี้ + ว่า เครื่องหมายบวก

รากศัพท์ 2[แก้ไข]

คำกริยา[แก้ไข]

บวก (คำอาการนาม การบวก)

  1. (ภาษาปาก, สแลง) ปะทะกัน
    รถกระบะบวกรถบรรทุก
    หนุ่มเมาแล้วขับ คุมรถไม่อยู่บวกเสาไฟฟ้า เจ็บสาหัส
  2. (ภาษาปาก, สแลง) ชก
    เปิดฉากยกแรก ทั้งคู่บวกหมัดชุดแลกกันทันที
    ขุนศึก ภ.สวนทอง บวกหมัดจน ช้างศึก เกียรติทรงฤทธิ์ หลับเพียงยก 2 เท่านั้น

รากศัพท์ 3[แก้ไข]

คำกริยา[แก้ไข]

บวก

  1. (โบราณ) โบก

ภาษาคำเมือง[แก้ไข]

คำนาม[แก้ไข]

บวก

  1. แอ่งน้ำ
  2. ปลัก

ภาษาอีสาน[แก้ไข]

คำนาม[แก้ไข]

บวก

  1. ปลัก