ผูก

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี
ดูเพิ่ม: ผก, ผัก, ผั๋ก, และ ผ๋ก

ภาษาไทย[แก้ไข]

รากศัพท์[แก้ไข]

สืบทอดจากภาษาไทตะวันตกเฉียงใต้ดั้งเดิม *pʰuːkᴰ¹ᴸ, จากภาษาไทดั้งเดิม *cm̩.rukᴰ; ร่วมเชื้อสายกับภาษาคำเมือง ᨹᩪᨠ (ผูก), ภาษาเขิน ᨹᩪᨠ (ผูก), ภาษาลาว ຜູກ (ผูก), ภาษาไทลื้อ ᦕᦳᧅᧈ (ผุ่ก), ภาษาไทดำ ꪠꪴꪀ (ฝุก), ภาษาไทใหญ่ ၽုၵ်ႇ (ผุ่ก), ภาษาพ่าเก ၸုက် (ผุก์), ภาษาอาหม 𑜇𑜤𑜀𑜫 (ผุก์)

การออกเสียง[แก้ไข]

การแบ่งพยางค์ผูก
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงpùuk
ราชบัณฑิตยสภาphuk
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/pʰuːk̚˨˩/(สัมผัส)

คำกริยา[แก้ไข]

ผูก (คำอาการนาม การผูก)

  1. เอาเชือกเป็นต้นสอดคล้องกันให้เกิดเป็นเงื่อน เพื่อทำให้มั่นหรือติดต่อกันในตัวหรือกับสิ่งอื่น, ตรงข้ามกับ แก้
    ผูกเชือก
    ผูกลวด
    ผูกโบ
  2. ติดต่อหรือติดพันกันแน่นกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
    ผูกใจ
    ผูกโกรธ
    ผูกมิตร
  3. ประกอบเข้า, ตรงข้ามกับ แก้
    ผูกประโยค
    ผูกปริศนา
    ผูกลาย
  4. ติดพันกันด้วยเรื่องสิทธิและหน้าที่ตามที่ตกลงกัน
    ผูกตลาด
    ผูกท่า
  5. คุ้มครอง (ใช้ในการเล่นหมากรุก)
    เอาม้าผูกโคน
    เอาเรือผูกม้า
  6. ขมวด
    ผูกคิ้วนิ่วหน้าไม่พาที
    (นิราศนรินทร์)
  7. จอง
    ผูกเวร

คำลักษณนาม[แก้ไข]

ผูก

  1. เรียกหนังสือใบลานที่ร้อยหูไว้มัดหนึ่ง
    คัมภีร์เทศนาผูกหนึ่ง