ยุ่ง

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี

ภาษาไทย[แก้ไข]

การออกเสียง[แก้ไข]

การแบ่งพยางค์ยุ่ง
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงyûng
ราชบัณฑิตยสภาyung
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/juŋ˥˩/(สัมผัส)

รากศัพท์[แก้ไข]

สืบทอดจากภาษาไทดั้งเดิม *ɲuŋᴮ/ꟲ; ร่วมเชื้อสายกับภาษาคำเมือง ᩉ᩠ᨿᩩ᩶ᨦ (หยุ้ง), ภาษาลาว ຫຍຸ້ງ (หยุ้ง), ภาษาไทขาว ꪶꪐꪉꫂ, ภาษาไทใหญ่ ယုင်ႈ (ยุ้ง), ภาษาไทใต้คง ᥕᥧᥒᥲ (ยู้ง), ภาษาจ้วง nyungj, ภาษาจ้วงใต้ yungj

คำคุณศัพท์[แก้ไข]

ยุ่ง (คำอาการนาม ความยุ่ง)

  1. อาการของสิ่งที่เป็นเส้นเป็นฝอยสับสนพัวพันกันถึงกับต้องสางจึงจะเป็นระเบียบเรียบร้อยได้
    ผมยุ่ง
    ไหมพันกันยุ่ง
  2. อาการที่ทำให้สับสน
    ทำเรื่องยุ่ง

คำกริยาวิเศษณ์[แก้ไข]

ยุ่ง (คำอาการนาม ความยุ่ง)

  1. ไม่เรียบร้อย
    เขียนหนังสือยุ่งอ่านไม่ออก
    ข้าวของปนกันยุ่ง

คำนาม[แก้ไข]

ยุ่ง

  1. เรียกผู้ที่ชอบทำให้สับสนวุ่นวาย ว่า ตัวยุ่ง

คำกริยา[แก้ไข]

ยุ่ง (คำอาการนาม การยุ่ง หรือ ความยุ่ง)

  1. เข้ามาเกี่ยวข้องพัวพันโดยไม่จำเป็น
    อย่าไปยุ่งเรื่องของเขา
    อย่าไปยุ่งกับเขา
  2. มีธุระพัวพันมาก
    กำลังยุ่งอย่ามากวนใจ
  3. วุ่นวายไม่เป็นปรกติ
    ยุ่งกันไปทั้งบ้าน