ย้อม

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี
ดูเพิ่ม: ยอม และ ย่อม

ภาษาไทย[แก้ไข]

รากศัพท์[แก้ไข]

สืบทอดจากภาษาไทตะวันตกเฉียงใต้ดั้งเดิม *ɲɔːmꟲ², จากภาษาไทดั้งเดิม *ɲwuːmꟲ, จากภาษาจีนยุคกลาง (MC nyemX); ร่วมเชื้อสายกับภาษาคำเมือง ᨿᩬ᩶ᨾ (ยอ้ม), ภาษาลาว ຍ້ອມ (ย้อม), ภาษาไทลื้อ ᦍᦸᧄᧉ (ย้อ̂ม), ภาษาไทดำ ꪑ꫁ꪮꪣ (ญ้อม), ภาษาไทใหญ่ ယွမ်ႉ (ย๎อ̂ม), ภาษาไทใต้คง ᥕᥩᥛᥳ (ย๎อ̂ม), ภาษาพ่าเก ယွံ (ยอ̂ํ), ภาษาอาหม 𑜊𑜨𑜪 (ยอ̂ํ) หรือ 𑜐𑜨𑜉𑜫 (ญอ̂ม์), ภาษาจ้วง yumx หรือ nyumx, ภาษาจ้วงแบบจั่วเจียง yomx, ภาษาจ้วงแบบหนง nyomx, ภาษาแสก ญุม

การออกเสียง[แก้ไข]

การแบ่งพยางค์ย้อม
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงyɔ́ɔm
ราชบัณฑิตยสภาyom
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/jɔːm˦˥/(สัมผัส)

คำกริยา[แก้ไข]

ย้อม (คำอาการนาม การย้อม)

  1. ชุบด้วยสี, อาบด้วยสี
  2. ทำให้ด้าย ไหม หรือผ้าเป็นต้นเป็นสีต่าง ๆ ด้วยการชุบลงไปในน้ำสี