รับ

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี
ดูเพิ่ม: ร.บ., รบ, รบ., ริบ, ริ๊บ, และ รีบ

ภาษาไทย[แก้ไข]

รากศัพท์[แก้ไข]

สืบทอดจากภาษาไทตะวันตกเฉียงใต้ดั้งเดิม *rapᴰ²ˢ; ร่วมเชื้อสายกับภาษาคำเมือง ᩁᩢ᩠ᨷ (รับ), ภาษาเขิน ᩁᩢ᩠ᨷ (รับ), ภาษาลาว ຮັບ (ฮับ), ภาษาไทลื้อ ᦣᧇ (ฮับ), ภาษาไทดำ ꪭꪚꪾ (ฮับ), ภาษาไทใหญ่ ႁပ်ႉ (หั๎ป), ภาษาไทใต้คง ᥞᥙ (หัป), ภาษาอาหม 𑜍𑜆𑜫 (รป์), ภาษาจ้วงแบบจั่วเจียง raep

การออกเสียง[แก้ไข]

การแบ่งพยางค์รับ
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงráp
ราชบัณฑิตยสภาrap
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/rap̚˦˥/(สัมผัส)

คำกริยา[แก้ไข]

รับ (คำอาการนาม การรับ)

  1. ยื่นมือออกถือเอาสิ่งของที่ผู้อื่นส่งให้
    รับของ
    รับเงิน
  2. ถือเอาสิ่งของที่ผู้อื่นส่งมาให้
    รับจดหมาย
    รับพัสดุภัณฑ์
  3. ไปพบ ที่ที่กำหนดเพื่ออำนวยความสะดวกหรือพาไปสู่ที่พัก, ต้อนรับ
    ฉันไปรับเพื่อนที่ดอนเมือง
    ประชาชนไปรับนายกรัฐมนตรีกลับจากต่างประเทศ
  4. โดยปริยายใช้แก่นามธรรมก็ได้
    รับศีล
    รับพร
  5. ให้คำตอบที่ไม่ปฏิเสธ
    ตอบรับ
    รับเชิญ
  6. ยอมสารภาพ
    รับผิด
  7. ตกลงตาม
    รับทำ
  8. คล้องจอง
    กลอนรับสัมผัสกัน
  9. เหมาะเจาะ, เหมาะสม
    หมวกรับกับหน้า
  10. ขานตอบ
    กู่เรียกแล้วไม่มีคนรับ
    โทรศัพท์ไม่มีผู้รับ
  11. ต้าน
    รับทัพ
    รับศึก
  12. ต่อเสียง
    ลูกคู่ร้องรับต้นบท

คำแปลภาษาอื่น[แก้ไข]

ภาษาเขมรเหนือ[แก้ไข]

รากศัพท์[แก้ไข]

ยืมมาจากภาษาไทย รับ

การออกเสียง[แก้ไข]

คำกริยา[แก้ไข]

รับ

  1. รับ