ราก

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี
ดูเพิ่ม: ร̄าก

ภาษาไทย[แก้ไข]

วิกิพีเดียมีบทความเกี่ยวกับ:
Wikipedia
วิกิพีเดียมีบทความเกี่ยวกับ:
Wikipedia

การออกเสียง[แก้ไข]

การแบ่งพยางค์ราก
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงrâak
ราชบัณฑิตยสภาrak
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/raːk̚˥˩/(สัมผัส)

รากศัพท์ 1[แก้ไข]

สืบทอดจากภาษาไทดั้งเดิม *C̬.raːkᴰ; ร่วมเชื้อสายกับภาษาคำเมือง ᩁᩣ᩠ᨠ (ราก), ภาษาเขิน ᩁᩣ᩠ᨠ (ราก), ภาษาลาว ຮາກ (ฮาก), ภาษาไทลื้อ ᦣᦱᧅ (ฮาก), ภาษาไทดำ ꪭꪱꪀ (ฮาก), ภาษาไทใหญ่ ႁၢၵ်ႈ (ห้าก), ภาษาอาหม 𑜍𑜀𑜫 (รก์), ภาษาจ้วง rag, ภาษาจ้วงแบบหนง lag, ภาษาจ้วงแบบจั่วเจียง lag, ภาษาแสก ร̄าก

คำนาม[แก้ไข]

ราก (คำลักษณนาม ราก)

  1. ส่วนของต้นไม้ ตามปรกติอยู่ในดิน มีหน้าที่ดูดอาหารเลี้ยงลำต้น, โดยปริยายเรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น
    รากผม
    รากฟัน
  2. เรียกฐานที่อยู่ใต้ดินทำหน้าที่รองรับอาคารว่า รากตึก หรือ ฐานราก
  3. ต้นเดิม, เค้าเดิม
    รากศัพท์
  4. (คณิตศาสตร์) จำนวนที่ยกกำลังตามอันดับแล้วได้ผลลัพธ์เท่ากับจำนวนที่กำหนด
    รากที่สองของ 9 คือ 3 กับ −3
    รากที่สามของ 8 คือ 2
  5. (คณิตศาสตร์) คำตอบของตัวแปรในสมการ, ค่าของพารามิเตอร์ที่ทำให้ฟังก์ชันมีค่าเป็นศูนย์
    x = 1 เป็นรากของสมการ 2x = 2
    x = 1 เป็นรากของฟังก์ชัน f (x) = 3x − 3
คำแปลภาษาอื่น[แก้ไข]

รากศัพท์ 2[แก้ไข]

สืบทอดจากภาษาไทดั้งเดิม *rwɯəkᴰ; เทียบภาษาจีนยุคกลาง (MC xuwk|xaewk); ร่วมเชื้อสายกับภาษาคำเมือง ᩁᩣ᩠ᨠ (ราก), ภาษาเขิน ᩁᩣ᩠ᨠ (ราก), ภาษาอีสาน ฮาก, ภาษาลาว ຮາກ (ฮาก), ภาษาไทลื้อ ᦣᦱᧅ (ฮาก), ภาษาไทใหญ่ ႁၢၵ်ႈ (ห้าก), ภาษาอาหม 𑜍𑜀𑜫 (รก์), ภาษาจ้วงแบบหนง rag(slag), ภาษาแสก หร้วก , ภาษาจ้วงใต้ rag

คำนาม[แก้ไข]

ราก

  1. อาการที่สำรอกออกมาทางปาก

คำกริยา[แก้ไข]

ราก (คำอาการนาม การราก)

  1. อาเจียน, อ้วก, สำรอกออกทางปาก
    รากแตกรากแตน

ภาษาคำเมือง[แก้ไข]

การออกเสียง[แก้ไข]

รากศัพท์ 1[แก้ไข]

คำนาม[แก้ไข]

ราก

  1. อีกรูปหนึ่งของ ᩁᩣ᩠ᨠ (ราก)

รากศัพท์ 2[แก้ไข]

คำกริยา[แก้ไข]

ราก (คำอาการนาม การราก)

  1. (อกรรม) อีกรูปหนึ่งของ ᩁᩣ᩠ᨠ (ราก)