ลืม

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี

ภาษาไทย[แก้ไข]

การออกเสียง[แก้ไข]

การแบ่งพยางค์ลืม
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงlʉʉm
ราชบัณฑิตยสภาluem
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/lɯːm˧/(สัมผัส)

รากศัพท์ 1[แก้ไข]

สืบทอดจากภาษาไทดั้งเดิม *lɯːmᴬ; ร่วมเชื้อสายกับภาษาคำเมือง ᩃᩨ᩠ᨾ (ลืม), ภาษาลาว ລືມ (ลืม), ภาษาเขิน ᩃᩨ᩠ᨾ (ลืม), ภาษาไทลื้อ ᦟᦹᧄ (ลืม), ภาษาไทดำ ꪩꪳꪣ (ลึม), ภาษาไทใหญ่ လိုမ်း (ลึ๊ม), ภาษาไทใต้คง ᥘᥪᥛᥰ (ลื๊ม), ภาษาอาหม 𑜎𑜢𑜤𑜉𑜫 (ลึม์), ภาษาจ้วง lumz

คำกริยา[แก้ไข]

ลืม (คำอาการนาม การลืม)

  1. หายไปจากความจำ, นึกไม่ได้, นึกไม่ออก
    เขาลืมความหลัง
    ลืมชื่อเพื่อน
  2. ระลึกไม่ได้เพราะขาดความเอาใจใส่เป็นต้น
    ลืมทำการบ้าน
    ลืมรดน้ำต้นไม้

คำแปลภาษาอื่น[แก้ไข]

รากศัพท์ 2[แก้ไข]

สืบทอดจากภาษาไทตะวันตกเฉียงใต้ดั้งเดิม *mlɯnᴬ (เปิด(ตา)) (Pittayaporn, 2008); พยัญชนะท้าย /*-n/ กลายเป็น /-m/ เนื่องจากการกลืนเสียงไปกับพยัญชนะต้น /*m-/: พยัญชนะต้น /*ml-/ กลายเป็น /l-/ ตามปกติ; ร่วมเชื้อสายกับภาษาอีสาน มืน, ภาษาลาว ມືນ (มืน), ภาษาคำเมือง ᨾᩨ᩠ᨶ (มืน), ภาษาเขิน ᨾᩨ᩠ᨶ (มืน), ภาษาไทลื้อ ᦙᦹᧃ (มืน), ภาษาไทใหญ่ မိုၼ်း (มึ๊น)

คำกริยา[แก้ไข]

ลืม (คำอาการนาม การลืม)

  1. เปิด(ตา) (ในคำว่า ลืมตา).

ภาษาคำเมือง[แก้ไข]

การออกเสียง[แก้ไข]

คำกริยา[แก้ไข]

ลืม (คำอาการนาม ก๋ารลืม หรือ ก๋านลืม)

  1. (สกรรม) อีกรูปหนึ่งของ ᩃᩨ᩠ᨾ (ลืม)