สติ

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี
ดูเพิ่ม: ส.ต., สต, สต., สตู, สัต, สูต, และ สูติ

ภาษาไทย[แก้ไข]

รากศัพท์[แก้ไข]

ยืมมาจากภาษาบาลี สติ, จากภาษาสันสกฤต स्मृति (สฺมฺฤติ); ร่วมเชื้อสายกับภาษาเขมร សតិ (สติ), ภาษาลาว ສະຕິ (สะติ), ภาษาไทใหญ่ သတီႉ (สตี๎), သတိ (สติ); ร่วมรากกับ สมฤดี (รูปหนึ่ง)

การออกเสียง[แก้ไข]

การแบ่งพยางค์สะ-ติ
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงsà-dtì
ราชบัณฑิตยสภาsa-ti
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/sa˨˩.tiʔ˨˩/(สัมผัส)

คำนาม[แก้ไข]

สติ

  1. ความรู้สึก, ความรู้สึกตัว
    ได้สติ
    ฟื้นคืนสติ
    สิ้นสติ
  2. ความรู้สึกผิดชอบ
    มีสติ
    ไร้สติ
  3. ความระลึกได้
    ตั้งสติ
    กำหนดสติ

ภาษาบาลี[แก้ไข]

รูปแบบอื่น[แก้ไข]

รากศัพท์ 1[แก้ไข]

สรฺ +‎ ติ; จากภาษาสันสกฤต/สันสกฤตพระเวท स्मृति (สฺมฺฤติ)

คำนาม[แก้ไข]

สติ ญ.

  1. สติ, ความระลึกได้
การผันรูป[แก้ไข]

รากศัพท์ 2[แก้ไข]

ดูรากศัพท์ที่คำหลัก

คำคุณศัพท์[แก้ไข]

สติ

  1. อธิกรณการก เอกพจน์ เพศชาย/เพศกลางของ สนฺต, ปัจจุบันกาล กรรตุวาจก พาร์ทิซิเพิลของ อตฺถิ (to be)
  2. สัมโพธนการก เอกพจน์ เพศหญิงของ สนฺต, ปัจจุบันกาล กรรตุวาจก พาร์ทิซิเพิลของ อตฺถิ (to be)

คำกริยา[แก้ไข]

สติ

  1. อธิกรณการก เอกพจน์ เพศชาย/เพศกลางของ สนฺต, ปัจจุบันกาล กรรตุวาจก พาร์ทิซิเพิลของ อตฺถิ (to be)
  2. สัมโพธนการก เอกพจน์ เพศหญิงของ สนฺต, ปัจจุบันกาล กรรตุวาจก พาร์ทิซิเพิลของ อตฺถิ (to be)