สาบ

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี

ภาษาไทย[แก้ไข]

การออกเสียง[แก้ไข]

การแบ่งพยางค์สาบ
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงsàap
ราชบัณฑิตยสภาsap
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/saːp̚˨˩/(สัมผัส)
คำพ้องเสียงศาป
สาป

รากศัพท์ 1[แก้ไข]

ร่วมเชื้อสายกับภาษาลาว ສາບ (สาบ), ภาษาไทใหญ่ သၢပ်ႇ (ส่าป)

คำนาม[แก้ไข]

สาบ

  1. กลิ่นเหม็นชนิดหนึ่ง เช่นกลิ่นเสื้อผ้าที่ใช้แล้วแต่ยังไม่ได้ซัก
  2. กลิ่นตัวที่มีประจำอยู่กับสัตว์บางชนิด
    สาบเสือ
    สาบแพะ
  3. กลิ่นอื่น ๆ ที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น

คำคุณศัพท์[แก้ไข]

สาบ

  1. ที่มีกลิ่นเหม็น

รากศัพท์ 2[แก้ไข]

สืบทอดจากภาษาไทดั้งเดิม *saːpᴰ; ร่วมเชื้อสายกับภาษาลาว ສາບ (สาบ), ภาษาไทใหญ่ သၢပ်ႇ (ส่าป), ภาษาปู้อี saabt, ภาษาจ้วง sap

คำนาม[แก้ไข]

สาบ

  1. ชื่อแมลงหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Blattidae ลักษณะคล้ายแมลงแกลบแต่ส่วนใหญ่ตัวโตกว่า ลำตัวยาวประมาณ 2 เซนติเมตรหรือมากกว่า รูปร่างเป็นรูปไข่ค่อนข้างแบนลง หัวซ่อนอยู่ใต้ส่วนอก หนวดยาวคล้ายเส้นด้าย ขายาวมีหนาม ตัวเต็มวัยมีทั้งพวกมีปีกและไม่มีปีก มีกลิ่นเฉพาะตัว กินอาหารได้หลากหลาย พบได้ทั่วไป ที่พบบ่อยตามบ้านเรือนทั่วโลกในปัจจุบัน เช่น ชนิด Periplaneta Americana (Linn.) และชนิด Blatta orientalis Linn.

รากศัพท์ 3[แก้ไข]

คำนาม[แก้ไข]

สาบ

  1. เรียกผ้าทาบที่อกเสื้อสำหรับติดดุมและเจาะรังดุม ว่า สาบเสื้อ, ปัจจุบันอนุโลมเรียกผ้าทาบที่คอ แขน กระเป๋า เป็นต้น เพื่อให้หนาขึ้น ว่า สาบคอ สาบแขน สาบกระเป๋า

รากศัพท์ 4[แก้ไข]

ยืมมาจากภาษาเขมรเก่า សាប្ប (สาปฺป, จืด); ร่วมเชื้อสายกับภาษาเขมร សាប (สาบ, จืด)

คำนาม[แก้ไข]

สาบ

  1. เรียกห้วงน้ำใหญ่คล้ายบึง แต่โตกว่า ว่า ทะเลสาบ