หนัก

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี
ดูเพิ่ม: หนึก และ หุ้นกู้

ภาษาไทย[แก้ไข]

รูปแบบอื่น[แก้ไข]

รากศัพท์[แก้ไข]

สืบทอดจากภาษาไทดั้งเดิม *ʰnakᴰ; ร่วมเชื้อสายกับภาษาลาว ໜັກ (หนัก), ภาษาไทลื้อ ᦐᧅ (หฺนัก), ภาษาไทดำ ꪘꪰꪀ (หฺนัก), ภาษาไทใหญ่ ၼၵ်း (นั๊ก), ภาษาไทใต้คง ᥘᥐᥴ (ลั๋ก), ภาษาอ่ายตน ꩫက် (นก์), ภาษาอาหม 𑜃𑜀𑜫 (นก์), ภาษาปู้อี nagt, ภาษาจ้วง naek

การออกเสียง[แก้ไข]

การแบ่งพยางค์หฺนัก
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงnàk
ราชบัณฑิตยสภาnak
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/nak̚˨˩/(สัมผัส)

คำคุณศัพท์[แก้ไข]

หนัก (คำอาการนาม ความหนัก)

  1. มีน้ำหนักมาก, ตรงข้ามกับ เบา
  2. รุนแรง
    ไข้หนัก
  3. มาก
  4. ที่ให้ผลช้ากว่าปรกติ
    ทุเรียนหนัก
    ข้าวหนัก
  5. (การคอมพิวเตอร์) ที่ใช้พื้นที่เก็บข้อมูลมาก

คำกริยาวิเศษณ์[แก้ไข]

หนัก (คำอาการนาม ความหนัก)

  1. แรง
    ฝนตกหนัก
  2. รุนแรง
    รบหนัก
    ระบาดหนัก

คำนาม[แก้ไข]

หนัก

  1. (ภาษาปาก) อุจจาระ
    ถ่ายหนัก