เคาะ

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี
ดูเพิ่ม: เค๋าะ

ภาษาไทย[แก้ไข]

การออกเสียง[แก้ไข]

การแบ่งพยางค์เคาะ
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงkɔ́
ราชบัณฑิตยสภาkho
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/kʰɔʔ˦˥/(สัมผัส)

รากศัพท์ 1[แก้ไข]

เทียบภาษาจีนเก่า (OC *kʰoːʔ); ร่วมเชื้อสายกับภาษาลาว ເຄາະ (เคาะ) หรือ ໂຄະ (โคะ)

คำกริยา[แก้ไข]

เคาะ (คำอาการนาม การเคาะ)

  1. ใช้อวัยวะมีมือเป็นต้นกระทบเบา
    เคาะจังหวะ
    เคาะบุหรี่
  2. ใช้มือหรือวัตถุงอตีหรือทุบให้เกิดเสียงเป็นต้น
    เคาะประตู
    เคาะระฆัง
    เคาะตัวถังรถ
คำแปลภาษาอื่น[แก้ไข]

รากศัพท์ 2[แก้ไข]

คำกริยา[แก้ไข]

เคาะ (คำอาการนาม การเคาะ)

  1. พูดเย้าแหย่

คำกริยาวิเศษณ์[แก้ไข]

เคาะ

  1. เลียบเคียง
    พูดเคาะ

รากศัพท์ 3[แก้ไข]

มาจากการเคาะโต๊ะด้วยค้อนในการประมูล

คำกริยา[แก้ไข]

เคาะ (คำอาการนาม การเคาะ)

  1. (ภาษาปาก, สแลง) ตัดสินใจขั้นสุดท้าย, อนุมัติ
    โครงการอบรมเพื่อพัฒนาบุคลากรประจำปีนี้ กรรมการส่วนใหญ่ก็เห็นชอบแล้ว แต่ท่านประธานยังไม่เคาะ
    เคาะแล้ว! อัตราใหม่ค่าจ้างขั้นต่ำ เพิ่มทุกจังหวัด 5-22 บาท

รากศัพท์ 4[แก้ไข]

คำกริยา[แก้ไข]

เคาะ (คำอาการนาม การเคาะ)

  1. (ภาษาปาก, สแลง) งดออกความเห็น
    เรื่องหัวหน้าไปยุ่งกับเลขา ฉันขอเคาะ ไม่อยากวิจารณ์