เนื้อ

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี
ดูเพิ่ม: เนอ

ภาษาไทย[แก้ไข]

การออกเสียง[แก้ไข]

การแบ่งพยางค์เนื้อ
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงnʉ́ʉa
ราชบัณฑิตยสภาnuea
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/nɯa̯˦˥/(สัมผัส)
ไฟล์เสียง

รากศัพท์ 1[แก้ไข]

สืบทอดจากภาษาไทดั้งเดิม *n.mɤːꟲ; ร่วมเชื้อสายกับภาษาคำเมือง ᨶᩮᩬᩥ᩶ᩋ (เนอิ้อ), ภาษาลาว ເນຶ້ອ (เนึ้อ) หรือ ເນື້ອ (เนื้อ), ภาษาไทลื้อ ᦵᦓᦲᧉ (เนี้), ภาษาเขิน ᨶᩮᩬᩨ᩶ (เนอื้), ภาษาไทใหญ่ ၼိူဝ်ႉ (เนิ๎ว), ภาษาอาหม 𑜃𑜢𑜤𑜈𑜫 (นึว์), ภาษาปู้อี noh, ภาษาจ้วง noh, ภาษาจ้วงแบบหนง nowx หรือ nwx, ภาษาแสก หมร้อภาษาจ้วงแบบจั่วเจียง nwex

คำนาม[แก้ไข]

เนื้อ

  1. ส่วนของร่างกายคนและสัตว์อยู่ถัดหนังเข้าไป
  2. เนื้อวัวหรือเนื้อควายที่ใช้เป็นอาหาร
    แกงเนื้อ
    ผัดกะเพราเนื้อ
  3. สิ่งที่เป็นลักษณะประจำตัวของสิ่งต่าง
    เนื้อไม้
    เนื้อเงิน
    เนื้อทอง
  4. ส่วนที่อยู่ถัดเปลือกของผลไม้ต่าง ๆ
    เนื้อมะม่วง
    เนื้อทุเรียน
  5. สิ่งที่ประกอบกันเป็นตัวอาหาร, คู่กับ น้ำ
    แกงมีแต่น้ำไม่มีเนื้อ
    เอาแต่เนื้อ ๆ
  6. สาระสำคัญ
    เนื้อเรื่อง
  7. คุณสมบัติของเนื้อทองคำและเงินเป็นต้น
    ทองเนื้อเก้า
    เงินเนื้อบริสุทธิ์
  8. (โบราณ) ราคาทองคำเป็นเงินบาทตามคุณภาพของเนื้อทอง เช่น ทองคำหนัก 1 บาท เป็นราคาเงิน 8 บาท เรียกว่า ทองเนื้อแปด, ถ้าเป็นราคาเงิน 9 บาท เรียกว่า ทองเนื้อเก้า หรือ ทองนพคุณเก้าน้ำ
  9. (ภาษาปาก) ทุนเดิม, เงิน, ทรัพย์
    เข้าเนื้อ
    ชักเนื้อ
    ควักเนื้อตัวเอง
  10. (ภาษาปาก, สแลง) กัญชา
    ดูดเนื้อ

คำพ้องความ[แก้ไข]

รากศัพท์ 2[แก้ไข]

คำนาม[แก้ไข]

เนื้อ

  1. ชื่อสัตว์ป่าประเภทกวาง