แขวน

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี

ภาษาไทย[แก้ไข]

การออกเสียง[แก้ไข]

การแบ่งพยางค์แขฺวน
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงkwɛ̌ɛn
ราชบัณฑิตยสภาkhwaen
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/kʰwɛːn˩˩˦/(สัมผัส)

รากศัพท์ 1[แก้ไข]

สืบทอดจากภาษาไทดั้งเดิม *qweːnᴬ; ร่วมเชื้อสายกับภาษาคำเมือง ᨡ᩠ᩅᩯᩁ (ขแวร), ภาษาลาว ແຂວນ (แขวน), ภาษาไทลื้อ ᦶᦧᧃ (แฃฺวน), ภาษาไทใหญ่ ၵႅၼ် (แกน) หรือ ၽႅၼ် (แผน), ภาษาอาหม 𑜁𑜢𑜐𑜫 (ขิญ์), ภาษาจ้วง kven

เป็นศัพท์บัญญัติสำนักงานราชบัณฑิตยสภาของ suspended (คำคุณศัพท์)

รูปแบบอื่น[แก้ไข]

คำกริยา[แก้ไข]

แขวน (คำอาการนาม การแขวน)

  1. เกี่ยวห้อยอยู่
  2. ย้ายไปอยู่ในตำแหน่งที่ไม่มีอำนาจ
    พอผู้สนับสนุนหมดอำนาจ เขาก็ถูกแขวนเข้ากรม
  3. พักรอไว้ก่อน
    เรื่องนี้ขอแขวนไว้ก่อน เพราะยังไม่มีข้อมูลพอ
  4. เลิกทำสิ่งนั้นหรือสิ่งที่เกี่ยวข้อง
    แขวนนวม
    เลิกชกมวย
    แขวนเต้า, แขวนบิกินี่
    เลิกถ่ายภาพนู้ด

คำคุณศัพท์[แก้ไข]

แขวน

  1. ที่เกี่ยวห้อยอยู่

รากศัพท์ 2[แก้ไข]

คำนาม[แก้ไข]

แขวน

  1. ตัวไม้โครงหลังคา เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวระหว่างเต้ากับจันทันระเบียง, ค้างคาว หรือ โตงเตง ก็เรียก

อ้างอิง[แก้ไข]