แปลง

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี

ภาษาไทย[แก้ไข]

การออกเสียง[แก้ไข]

การแบ่งพยางค์แปฺลง
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงbplɛɛng
ราชบัณฑิตยสภาplaeng
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/plɛːŋ˧/(สัมผัส)

รากศัพท์ 1[แก้ไข]

ไม่ทราบรากศัพท์

คำนาม[แก้ไข]

แปลง

  1. ที่โล่งแห่งหนึ่ง ๆ
    คล้องช้างกลางแปลง
  2. พื้นที่ที่กำหนดไว้แห่งหนึ่ง ๆ
  3. (ล้าสมัย) ที่เป็นแอ่งมีโคลนเลนซึ่งคนหรือสัตว์ทำขึ้น
    แปลงหมู
    แปลงควาย

คำลักษณนาม[แก้ไข]

แปลง

  1. เรียกพื้นที่ที่กำหนดไว้
    นา 2 แปลง

รากศัพท์ 2[แก้ไข]

ร่วมเชื้อสายกับภาษาคำเมือง ᨸᩖᩯᨦ (ปแลง) หรือ ᨸᩯ᩠ᨦ (แปง), ภาษาลาว ແປງ (แปง), ภาษาเขิน ᨸᩯ᩠ᨦ (แปง), ภาษาไทลื้อ ᦶᦔᧂ (แปง)

คำกริยา[แก้ไข]

แปลง (คำอาการนาม การแปลง)

  1. (สกรรม) เปลี่ยนสิ่งเดิมให้ผิดแปลกออกไป
  2. (สกรรม) เปลี่ยนรูปทั้งหมดให้กลายเป็นอีกรูปหนึ่ง
  3. (สกรรม) เปลี่ยนจากรูปเดิมแต่บางส่วน
  4. (สกรรม) เปลี่ยนจากรูปเดิมโดยแก้ไขเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย
  5. (สกรรม) ทำ
    แปลงขวัญ
  6. (สกรรม, ไวยากรณ์, ภาษาศาสตร์) สร้างคำโดยการเปลี่ยนรากศัพท์ของอีกคำหนึ่งหรือโดยการเพิ่มหน่วยคำเติม เช่น อุปสรรคหรือปัจจัย
    แปลงคำ
ดูเพิ่ม[แก้ไข]

ภาษาคำเมือง[แก้ไข]

การออกเสียง[แก้ไข]

คำกริยา[แก้ไข]

แปลง (คำอาการนาม การแปลง)

  1. (สกรรม) อีกรูปหนึ่งของ ᨸᩖᩯᨦ (ปแลง)

ภาษาปักษ์ใต้[แก้ไข]

คำกริยา[แก้ไข]

แปลง (คำอาการนาม ก่านแปลง)

  1. แผลง
    แปลงศร
    แผลงศร