โมง

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี
ดูเพิ่ม: โม่ง

ภาษาไทย[แก้ไข]

การออกเสียง[แก้ไข]

การแบ่งพยางค์โมง
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงmoong
ราชบัณฑิตยสภาmong
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/moːŋ˧/(สัมผัส)

รากศัพท์ 1[แก้ไข]

เลียนเสียงธรรมชาติ จากการตีฆ้องบอกเวลาในสมัยก่อน

คำนาม[แก้ไข]

โมง

  1. (ภาษาปาก) วิธีนับเวลาตามประเพณีในเวลากลางวัน, ถ้าเป็นเวลาก่อนเที่ยงวัน ตั้งแต่ 7 นาฬิกา ถึง 11 นาฬิกา เรียกว่า โมงเช้า ถึง 5 โมงเช้า, ถ้าเป็น 12 นาฬิกา นิยมเรียกว่า เที่ยงวัน, ถ้าหลังเที่ยงวัน ตั้งแต่ 13 นาฬิกา ถึง 17 นาฬิกา เรียกว่า บ่ายโมง ถึง บ่าย 5 โมง, ถ้า 18 นาฬิกา นิยมเรียกว่า 6 โมงเย็น หรือ ย่ำค่ำ

รากศัพท์ 2[แก้ไข]

คำนาม[แก้ไข]

โมง

  1. ต้นไม้ชนิดหนึ่งอยู่ตามป่า ใช้น้ำเปลือกแช่ปูนขาวทำให้ปูนแข็ง

ภาษาเลอเวือะตะวันออก[แก้ไข]

การออกเสียง[แก้ไข]

คำนาม[แก้ไข]

โมง

  1. ฆ้อง