กา

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี
ดูเพิ่ม: ก̂า, กำ, ก่า, ก่ำ, ก้า, ก้ำ, ก๋า, และ ก๋ำ

ภาษาไทย[แก้ไข]

วิกิพีเดียมีบทความเกี่ยวกับ:
Wikipedia

รากศัพท์[แก้ไข]

สืบทอดจากภาษาไทดั้งเดิม *kaːᴬ, แรกเริ่มมาจากการเลียนเสียงธรรมชาติ; ร่วมเชื้อสายกับภาษาลาว ກາ (กา), ภาษาคำเมือง ᨠᩣ (กา), ภาษาไทลื้อ ᦂᦱ (กา), ภาษาไทใหญ่ ၵႃ (กา), ภาษาไทใต้คง ᥐᥣ (กา), ภาษาไทดำ ꪀꪱ (กา), ภาษาจ้วง roegga

การออกเสียง[แก้ไข]

การแบ่งพยางค์กา
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงgaa
ราชบัณฑิตยสภาka
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/kaː˧/(สัมผัส)

คำนาม[แก้ไข]

(1) อีกา
(2) ปลากา
(4) กาหนึ่งใบ

กา

  1. (อี~, นก~) ชื่อนกชนิด Corvus macrorhynchos ในวงศ์ Corvidae ปากใหญ่หนาแบนข้าง ตาสีดำ ร้องเสียง "กา ๆ" (คำลักษณนาม ตัว)
  2. ชื่อปลาน้ำจืดชนิด Labeo chrysophekadion ในวงศ์ Cyprinidae (วงศ์ปลาตะเพียน) ปากงุ้มต่ำ ตาเล็กตลอดทั้งหัว ตัว และครีบหลังเป็นแผนใหญ่ เฉพาะเกล็ดมีจุดสีเหลืองประปราย ขนาดยาวได้ถึง 60 เซนติเมตร พบในแหล่งน้ำที่มีระดับน้ำตื้น ๆ และมีพันธุ์ไม้น้ำ (คำลักษณนาม ตัว)
  3. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์ธนิษฐา เห็นเป็นรูปอีกา
    แม้นดาวกามาใกล้ในมนุษย์ — พระอภัยมณี
  4. ภาชนะสำหรับใส่น้ำหรือต้มน้ำ มีพวยและหูสำหรับหิ้วหรือจับ (คำลักษณนาม ใบ หรือ ลูก)
  5. คำกำกับชื่อปีในวิธีนับศักราชของชาวไทยเหนือ ตรงกับเลข 0

คำพ้องความ[แก้ไข]

ลูกคำ[แก้ไข]

คำแปลภาษาอื่น[แก้ไข]

คำกริยา[แก้ไข]

กา (คำอาการนาม การกา)

  1. ทำเครื่องหมายเป็นรูปกากบาท ทำเครื่องหมายไว้ให้สังเกตได้
    ดูเฉพาะที่กาไว้

ลูกคำ[แก้ไข]

ดูเพิ่ม[แก้ไข]

ภาษาคำเมือง[แก้ไข]

การออกเสียง[แก้ไข]

คำอนุภาค[แก้ไข]

กา

  1. หรือ, เหรอ
    ลึมอ้ายแล้วกา
    ลืมพี่แล้วหรือ

ดูเพิ่ม[แก้ไข]

ภาษาทะวืง[แก้ไข]

รากศัพท์[แก้ไข]

สืบทอดจากภาษาเวียตติกดั้งเดิม *r-kaː; ร่วมเชื้อสายกับภาษาเวียดนาม ; เทียบภาษาเขมร រកា (รกา, ระกา)

คำนาม[แก้ไข]

กา

  1. ไก่

ภาษาเลอเวือะตะวันตก[แก้ไข]

การออกเสียง[แก้ไข]

คำกริยา[แก้ไข]

กา

  1. ย่าง

ภาษาอีสาน[แก้ไข]

การออกเสียง[แก้ไข]

คำนาม[แก้ไข]

กา

  1. กา (นก)