ปั้น

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี

ภาษาไทย[แก้ไข]

การออกเสียง[แก้ไข]

การแบ่งพยางค์ปั้น
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงbpân
ราชบัณฑิตยสภาpan
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/pan˥˩/(สัมผัส)

รากศัพท์ 1[แก้ไข]

สืบทอดจากภาษาไทตะวันตกเฉียงใต้ดั้งเดิม *panꟲ²; ร่วมเชื้อสายกับภาษาปักษ์ใต้ ปั้น (ปั้น; บีบ), ภาษาลาว ປັ້ນ (ปั้น), ภาษาไทลื้อ ᦔᧃᧉ (ปั้น), ภาษาไทใหญ่ ပၼ်ႈ (ปั้น, จับ; บีบ), ภาษาพ่าเก ပꩫ် (ปน์), ภาษาอาหม 𑜆𑜃𑜫 (ปน์, จับ; บีบ) , ภาษาจ้วง baenj (ปั๊น) , ภาษาจ้วงแบบจั่วเจียง baenj (ปั้น)

คำกริยา[แก้ไข]

ปั้น (คำอาการนาม การปั้น)

  1. เอาสิ่งอ่อนเช่นขี้ผึ้ง ดินเหนียวเป็นต้นมาทำให้เป็นรูปตามที่ต้องการ
    ปั้นข้าวเหนียว
    ปั้นตุ๊กตา
  2. สร้างขึ้น, เสกสรรขึ้น
    ปั้นพยาน
    ปั้นเรื่อง
  3. ชุบเลี้ยงและอบรมสั่งสอนให้เป็นคนดี
    ฉันปั้นเขามาจนได้ดี

คำลักษณนาม[แก้ไข]

ปั้น

  1. เรียกสิ่งที่ปั้นเป็นก้อน
    ข้าวเหนียว 3 ปั้น

รากศัพท์ 2[แก้ไข]

เป็นไปได้ว่ามาจากภาษาจีน (pén)

คำนาม[แก้ไข]

ปั้น

  1. ภาชนะดินสำหรับชงน้ำชา มีพวยเหมือนกา, ป้าน ก็ใช้

ภาษาปักษ์ใต้[แก้ไข]

รากศัพท์[แก้ไข]

สืบทอดจากภาษาไทตะวันตกเฉียงใต้ดั้งเดิม *panꟲ²; ร่วมเชื้อสายกับภาษาไทย ปั้น, ภาษาลาว ປັ້ນ (ปั้น), ภาษาไทลื้อ ᦔᧃᧉ (ปั้น), ภาษาไทใหญ่ ပၼ်ႈ (ปั้น, จับ; บีบ), ภาษาพ่าเก ပꩫ် (ปน์), ภาษาอาหม 𑜆𑜃𑜫 (ปน์, จับ; บีบ)

คำกริยา[แก้ไข]

ปั้น (คำอาการนาม ก่านปั้น)

  1. ปั้น
  2. บีบ, คั้น
    ปั้นน้ำทิ
    คั้นน้ำกะทิ

ภาษาอีสาน[แก้ไข]

รากศัพท์[แก้ไข]

เทียบภาษาจีนยุคกลาง (MC paen|phaen, “หมุน”)

คำกริยา[แก้ไข]

ปั้น (คำอาการนาม การปั้น)

  1. บิด

อ้างอิง[แก้ไข]

  • เมชฌ สอดส่องกฤษ. (2552). "รายการคำศัพท์ภาษาไทยถิ่นอีสานที่คาดว่าจะเป็นคำศัพท์ร่วมเชื้อสายตระกูลไท–จีน." วารสารเอเชียตะวันออกศึกษา. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. [1]