ฟาด

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี

ภาษาไทย[แก้ไข]

รากศัพท์[แก้ไข]

สืบทอดจากภาษาไทตะวันตกเฉียงใต้ดั้งเดิม *vaːtᴰ; ร่วมเชื้อสายกับภาษาคำเมือง ᨼᩣ᩠ᨯ (ฟาด), ภาษาลาว ຟາດ (ฟาด), ภาษาเขิน ᨼᩣ᩠ᨯ (ฟาด), ภาษาไทลื้อ ᦝᦱᧆ (ฟาด), ภาษาอาหม 𑜇𑜄𑜫 (ผต์); เป็นไปได้ว่าเกี่ยวข้องกับ *vatᴰ (ซึ่งเป็นรากของ ฟัด), ภาษาจ้วงแบบจั่วเจียง fad, ภาษาจ้วง fad

การออกเสียง[แก้ไข]

การแบ่งพยางค์ฟาด
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงfâat
ราชบัณฑิตยสภาfat
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/faːt̚˥˩/(สัมผัส)

คำกริยา[แก้ไข]

ฟาด (คำอาการนาม การฟาด)

  1. หวด, เหวี่ยง
  2. (ภาษาปาก, สแลง) กินอย่างเต็มที่
    เช้าฟาดผัดฟัก เย็นฟาดฝักผัด
  3. (ภาษาปาก, สแลง) ด่า, ตำหนิ
    “ผู้การแต้ม” ฟาดไม่เลี้ยง คิดได้ไงให้พกยาบ้า 5 เม็ด

คำเกี่ยวข้อง[แก้ไข]