ภาคผนวก:การออกเสียงภาษาคำเมือง

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี

หน่วยเสียงวรรณยุกต์แบบเชียงใหม่[แก้ไข]

เสียงวรรณยุกต์แบบเชียงใหม่มีดังนี้ [1]

เชียงใหม่
ลำดับ คำบรรยาย Chao letters IPA ตัวอย่าง เทียบกับวรรณยุกต์ไทย
1 ต่ำ-ขึ้น 24 ˨˦ เหลา จัตวา
2 ต่ำ-ตก 21 ˨˩ เหล่า เอก
3 กลางค่อนข้างสูง-ระดับเส้นเสียงปิด 44 ˦˦ʔ เหล้า -
4 กลาง-ระดับ 33 ˧˧ เลา สามัญ
5 สูง-ตก 42 ˦˨ เล่า โท
6 สูง-ขึ้น 45 ˦˥ เล้า ตรี

แต่เสียงที่ 2 (เช่น เหล่า) อาจออกเสียงเป็น 22 (/˨˨/) และเสียงที่ 4 (เช่น เลา) บางครั้งอาจสูงขึ้นเล็กน้อยตอนท้ายพยางค์ [2] นอกจากนี้ เสียงที่ 1 (เช่น เหลา) อาจไม่สูงขึ้นเมื่ออยู่หน้าพยางค์อื่น เช่น ของ + กิ๋น อาจออกเสียงเป็น ข่องกิ๋น

เวลาอยู่ในพยางค์ตายเสียงวรรณยุกต์แบบเชียงใหม่เป็นดังนี้[1][2]

พยางค์ตาย
กลุ่มพยัญชนะ สระสั้น สระยาว
สูง 1 (เช่น สั๋ก) 2 (สาก)
กลาง (ดบอ และ อย [ᩀ]) 1 (อั๋บ) 2 (อาบ)
ต่ำ 6 (ลัก) 5 (ลาก)

แต่เสียงที่ 6 (เช่น ลัก) ในพยางค์สั้นที่มีสระสั้นมักเป็นเสียงสูง-ระดับ ซึ่งคล้ายกับเสียงที่ 3 (เช่น เหล้า)

อ้างอิง[แก้ไข]

  1. 1.0 1.1 พจนานุกรมภาษาล้านนา = The Lanna dictionary (พิมพ์ครั้งที่ 2). (พ.ศ. 2550). เชียงใหม่: สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
  2. 2.0 2.1 Gedney, W. J. (1999). Southwestern Tai dialects: Glossaries, texts, and translations (T. J. Hudak, Ed.). University of Michigan Center for South East Asian Studies.