สถานี

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี
ดูเพิ่ม: สถาน

ภาษาไทย[แก้ไข]

รากศัพท์[แก้ไข]

ยืมมาจากภาษาสันสกฤต स्थानीय (สฺถานีย); ร่วมเชื้อสายกับภาษาเขมร ស្ថានីយ (สฺถานีย), ภาษาลาว ສະຖານີ (สะถานี)

การออกเสียง[แก้ไข]

การแบ่งพยางค์สะ-ถา-นี
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงsà-tǎa-nii
ราชบัณฑิตยสภาsa-tha-ni
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/sa˨˩.tʰaː˩˩˦.niː˧/(สัมผัส)

คำนาม[แก้ไข]

สถานี (คำลักษณนาม สถานี หรือ แห่ง)

  1. หน่วยที่ตั้งเป็นที่พักหรือที่ทำการ
    สถานีตำรวจ
    สถานีรถไฟ
    สถานีตรวจอากาศ
    สถานีขนส่ง
  2. (เฉพาะไทย) ฐานส่งกำลังบำรุงของกองทัพเรือที่ประจำอยู่บนบก มีฐานใหญ่ ๆ 3 แห่ง เรียกว่า สถานีทหารเรือ
    สถานีทหารเรือกรุงเทพ
    สถานีทหารเรือสงขลา
    สถานีทหารเรือพังงา
  3. (เฉพาะไทย) ฐานส่งกำลังบำรุงหน่วยย่อยสำหรับการปฏิบัติการตามลำแม่น้ำโขง เรียกว่า สถานีเรือ
    สถานีเรืออำเภอเชียงคาน
    สถานีเรืออำเภอโขงเจียม
    สถานีเรืออำเภอธาตุพนม
  4. ตำแหน่งของเรือขณะอยู่ในรูปกระบวน
    เรือ ก รักษาสถานีทางขวาของเรือ ข ระยะ 500 หลา
  5. ที่ที่กำหนดให้ทหารเรือประจำเพื่อปฏิบัติการตามภารกิจต่าง ๆ
    สถานีรบ
    สถานีจอดเรือ
    สถานีออกเรือ
    สถานีช่วยคนตกน้ำ
    สถานีรับส่งสิ่งของทางทะเล
  6. ที่ที่มีหน่วยปฏิบัติการเฉพาะ
    สถานีสื่อสารดาวเทียม
    สถานีสมุทรศาสตร์
    สถานีตรวจอากาศ
  7. (โบราณ, ร้อยกรอง) หัวข้อ, ข้อ, เรื่อง, แก่นเรื่อง, ประเด็น[1]

คำสืบทอด[แก้ไข]

  • อูรักลาโวยจ: ทานี

อ้างอิง[แก้ไข]

  1. ราชบัณฑิตยสถาน (2001) พจนานุกรมศัพท์วรรณคดีไทย สมัยอยุธยา โคลงยวนพ่าย, กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, →ISBN, page 88