สนม

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี
ดูเพิ่ม: สนิม

ภาษาไทย[แก้ไข]

วิกิพีเดียมีบทความเกี่ยวกับ:
Wikipedia

การออกเสียง[แก้ไข]

การแบ่งพยางค์สะ-หฺนม
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงsà-nǒm
ราชบัณฑิตยสภาsa-nom
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/sa˨˩.nom˩˩˦/(สัมผัส)

รากศัพท์ 1[แก้ไข]

ยืมมาจากภาษาเขมรเก่า ស្នំ (สฺนํ); ร่วมเชื้อสายกับภาษาเขมร ស្នំ (สฺนํ) หรือ ស្នម (สฺนม)

คำนาม[แก้ไข]

สนม

  1. เจ้าจอมมารดาหรือเจ้าจอมอยู่งาน ซึ่งทรงพระเมตตายกย่องขึ้นเป็นชั้นสูง โดยได้รับพระราชทานหีบหมากทองคำลงยา ราชาวดี เรียกว่า พระสนม

รากศัพท์ 2[แก้ไข]

ยืมมาจากภาษาเขมรเก่า ស្នុំ (สฺนุํ); ร่วมเชื้อสายกับภาษาเขมร ស្នុំ (สฺนุํ)

คำนาม[แก้ไข]

สนม

  1. (โบราณ) ข้าราชการในพระราชสำนัก ทำหน้าที่เกี่ยวกับพิธีศพ จัดดอกไม้ ดูแล รักษาเครื่องนมัสการ โกศ หีบ เป็นต้น เรียกว่า เจ้าพนักงานสนมพลเรือน
  2. (โบราณ) เขตพระราชฐาน เป็นที่กักบริเวณผู้มีฐานันดรศักดิ์แห่งราชวงศ์ หรือข้าทูลละอองธุลีพระบาทชั้นผู้ใหญ่ อยู่ใน ความควบคุมดูแลของพวกสนม, เรียกลักษณะที่ ถูกกักบริเวณเช่นนั้นว่า ติดสนม

รากศัพท์ 3[แก้ไข]

ยืมมาจากภาษาอีสาน สนม (ชื่อพืชหญ้าชนิดหนึ่งเกิดในน้ำ)

คำวิสามานยนาม[แก้ไข]

สนม

  1. ชื่ออำเภอหนึ่งในจังหวัดสุรินทร์

ภาษาอีสาน[แก้ไข]

คำนาม[แก้ไข]

สนม

  1. ชื่อพืชหญ้าชนิดหนึ่งเกิดในน้ำ เกาะกันเป็นกลุ่ม ลอยเป็นแพอยู่เหนือน้ำ เรียก หญ้าสนม