หมิ่น

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี

ภาษาไทย[แก้ไข]

การออกเสียง[แก้ไข]

การแบ่งพยางค์หฺมิ่น
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงmìn
ราชบัณฑิตยสภาmin
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/min˨˩/(สัมผัส)

รากศัพท์ 1[แก้ไข]

คำกริยา[แก้ไข]

หมิ่น (คำอาการนาม การหมิ่น)

  1. แสดงกิริยาท่าทาง พูดจา หรือเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร เป็นเชิงดูถูกว่ามีฐานะต่ำต้อยหรือไม่ดีจริงไม่เก่งจริงเป็นต้น, ดูหมิ่น หรือ ดูหมิ่นถิ่นแคลน ก็ว่า

รากศัพท์ 2[แก้ไข]

ร่วมเชื้อสายกับภาษาอีสาน หมิ่น, ภาษาลาว ໝິ່ນ (หมิ่น), ภาษาจ้วงแบบจั่วเจียง minq meuq (หมิ่นแหม่ว, หมิ่น ๆ, จะตก, จะล้ม)

คำกริยาวิเศษณ์[แก้ไข]

หมิ่น (คำอาการนาม ความหมิ่น)

  1. ในที่เกือบตก เกือบพลาดตก

รากศัพท์ 3[แก้ไข]

จากภาษาจีนกลาง (mǐn)

คำวิสามานยนาม[แก้ไข]

หมิ่น

  1. ชื่อกลุ่มภาษาที่พูดกันทางตะวันออกเฉียงใต้ของจีน