อุทธรณ์

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี
ดูเพิ่ม: อุทฺธรณ

ภาษาไทย[แก้ไข]

รูปแบบอื่น[แก้ไข]

รากศัพท์[แก้ไข]

ยืมมาจากภาษาสันสกฤต उद्धरण (อุทฺธรณ) หรือภาษาบาลี อุทฺธรณ

การออกเสียง[แก้ไข]

การแบ่งพยางค์อุด-ทอน
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงùt-tɔɔn
ราชบัณฑิตยสภาut-thon
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/ʔut̚˨˩.tʰɔːn˧/(สัมผัส)

คำนาม[แก้ไข]

อุทธรณ์

  1. การยกขึ้น, การรื้อขึ้น
  2. การเคลื่อนที่
  3. การเสนอ
  4. การนำมาให้
  5. ชื่อศาลสูงถัดจากศาลชั้นต้นซึ่งมีอำนาจพิจารณาพิพากษาบรรดาคดีที่อุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้น เรียกว่า ศาลอุทธรณ์

คำกริยา[แก้ไข]

อุทธรณ์ (คำอาการนาม การอุทธรณ์)

  1. (กฎหมาย) ยื่นฟ้องหรือยื่นคำร้องต่อศาลสูงคัดค้านคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้น
  2. (กฎหมาย) ยื่นคำร้องคัดค้านคำสั่งหรือคำวินิจฉัยของพนักงานเจ้าหน้าที่
  3. ร้องเรียน, ร้องทุกข์
    ร้องอุทธรณ์