โกน

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี
ดูเพิ่ม: โก่น, โก้น, และ โก๋น

ภาษาไทย[แก้ไข]

การออกเสียง[แก้ไข]

การแบ่งพยางค์โกน
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงgoon
ราชบัณฑิตยสภาkon
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/koːn˧/(สัมผัส)

รากศัพท์ 1[แก้ไข]

เทียบภาษาเขมรกลาง កោរ (โกร), កោ (โก, โกน, ถาก); ร่วมเชื้อสายกับภาษาลาว ໂກນ (โกน)

คำกริยา[แก้ไข]

โกน (คำอาการนาม การโกน)

  1. ขูดผมหรือขนด้วยคมมีด
    โกนผม
คำแปลภาษาอื่น[แก้ไข]

คำนาม[แก้ไข]

โกน

  1. (ศาสนาพุทธ) ชื่อวันที่พระสงฆ์ในเมืองไทยปลงผม ตรงกับวันขึ้น 14 ค่ำ หรือ แรม 14 ค่ำ ถ้าเป็นเดือนขาดก็เป็นแรม 13 ค่ำ, คู่กับ วันพระ
  2. (ศาสนาพุทธ, ภาษาปาก) ชื่อวันก่อนวันพระวันหนึ่งได้แก่วันขึ้น 7 ค่ำ ขึ้น 14 ค่ำ แรม 7 ค่ำ และแรม 14 ค่ำ ถ้าเป็นเดือนขาดก็แรม 13 ค่ำ

คำพ้องความ[แก้ไข]

รากศัพท์ 2[แก้ไข]

ยืมมาจากเขมรเก่าสมัยก่อนอังกอร์ កោន៑ (โกนฺ), កោន្ន៑ (โกนฺนฺ), កុន៑ (กุนฺ), ក្វន៑ (กฺวนฺ, ลูก); เทียบภาษาเขมร កូន (กูน), ภาษามอญ ကောန် (โกน์); ร่วมรากกับ กูน

คำนาม[แก้ไข]

โกน

  1. (ร้อยกรอง) ลูก

ภาษาเขมรเหนือ[แก้ไข]

รากศัพท์[แก้ไข]

เทียบภาษาเขมร កូន (กูน)

การออกเสียง[แก้ไข]

คำนาม[แก้ไข]

โกน

  1. ลูก (ของคนหรือสัตว์)
  2. ต้นอ่อน
  3. สิ่งของที่เล็กกว่าในประเภทเดียวกัน

ภาษาอีสาน[แก้ไข]

รากศัพท์ 1[แก้ไข]

ร่วมเชื้อสายกับภาษาลาว ໂກນ (โกน)

คำนาม[แก้ไข]

โกน

  1. โพรง

รากศัพท์ 2[แก้ไข]

คำกริยา[แก้ไข]

โกน (คำอาการนาม การโกน)

  1. กรน