ดำ

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี
ดูเพิ่ม: ด̱า, ด่า, ด่ำ, และ ด้ำ

ภาษาไทย[แก้ไข]

การออกเสียง[แก้ไข]

การแบ่งพยางค์ดำ
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงdam
ราชบัณฑิตยสภาdam
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/dam˧/(สัมผัส)
คำพ้องเสียงดัมพ์

รากศัพท์ 1[แก้ไข]

สืบทอดจากภาษาไทดั้งเดิม *ɗamᴬ; ร่วมเชื้อสายกับภาษาไทใหญ่ လမ် (ลัม)ภาษาจ้วงแบบจั่วเจียง ndaemภาษาจ้วง ndaem

คำกริยา[แก้ไข]

ดำ (คำอาการนาม การดำ)

  1. มุดลง ในคำว่า ดำน้ำ

รากศัพท์ 2[แก้ไข]

สืบทอดจากภาษาไทดั้งเดิม *t.namᴬ; เทียบภาษาเขมร ដាំ (ฎำ, ปลูก), ภาษาออสโตรนีเซียนดั้งเดิม *taɬem (ปลูกถ่าย),,ภาษาจ้วงแบบจั่วเจียง ndaemภาษาจ้วง ndaem

คำกริยา[แก้ไข]

ดำ (คำอาการนาม การดำ)

  1. ปลูกข้าวกล้า
  2. เรียกนาชนิดหนึ่งซึ่งใช้ถอนต้นกล้ามาปลูกว่า นาดำ, คู่กับ นาหว่านซึ่งใช้หว่านเมล็ดข้าวลงในนา

รากศัพท์ 3[แก้ไข]

สืบทอดจากภาษาไทดั้งเดิม *C̥.damᴬ; ร่วมเชื้อสายกับภาษาลาว ດຳ (ดำ), ภาษาคำเมือง ᨯᩣᩴ (ดาํ), ภาษาเขิน ᨯᩣᩴ (ดาํ), ภาษาไทลื้อ ᦡᧄ (ดัม), ภาษาไทใหญ่ လမ် (ลัม), ภาษาอาหม 𑜃𑜪 (นํ) หรือ 𑜓𑜪 (ดํ), ภาษาจ้วง ndaem; เทียบภาษาเบดั้งเดิม *zamᴬ¹, ภาษาไหลดั้งเดิม *ɗəmʔ

คำคุณศัพท์[แก้ไข]

ดำ (คำอาการนาม ความดำ)

  1. สีอย่างสีมินหม้อ, ใช้ประกอบสิ่งต่างบางอย่างโดยอนุโลมตามลักษณะ สี เป็นชื่อเรียกเฉพาะ
    ผ้าดำ
    เต่าดำ
    มดดำ
คำพ้องความ[แก้ไข]
ดูที่ อรรถาภิธาน:ดำ
คำตรงข้าม[แก้ไข]
ดูเพิ่ม[แก้ไข]
สีในภาษาไทย
     แดง      เขียว      เหลือง      ครีม      ขาว
     เลือดหมู      บานเย็น      น้ำเงินอมเขียว      มะนาว      ชมพู
     คราม      น้ำเงิน      ส้ม      เทา      เม็ดมะปราง
     ดำ      ม่วง      น้ำตาล      ฟ้า      ฟ้าอมเขียว