ธาตุ

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี

ภาษาไทย[แก้ไข]

รูปแบบอื่น[แก้ไข]

รากศัพท์[แก้ไข]

จากภาษาบาลี ธาตุ, จากภาษาสันสกฤต धातु (ธาตุ, ส่วนประกอบ, แร่, ธาตุ (เคมี), ราก, น้ำเชื้อ เป็นต้น) สันนิษฐานว่าผ่านทางภาษาเขมรเก่า ធាតុ (ธาตุ, สาร, ธาตุ, สิ่งตกทอด, สิ่งหลงเหลือ) เทียบกับภาษาลาว ທາດ (ทาด)

การออกเสียง[แก้ไข]

การแบ่งพยางค์ทาด[เสียงสมาส]
ทา-ตุ-
[เสียงสมาส]
ทาด-ตุ-
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงtâattaa-dtù-tâat-dtù-
ราชบัณฑิตยสภาthattha-tu-that-tu-
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/tʰaːt̚˥˩/(สัมผัส)/tʰaː˧.tu˨˩.//tʰaːt̚˥˩.tu˨˩./
คำพ้องเสียงทาษ
ทาส

คำนาม[แก้ไข]

ธาตุ (คำลักษณนาม ธาตุ)

  1. สิ่งที่ถือว่าเป็นส่วนสำคัญที่คุมกันเป็นร่างของสิ่งทั้งหลาย
    1. โดยทั่วไปเชื่อว่ามี 4 ธาตุ ได้แก่ ธาตุดิน (ปฐวีธาตุ) ธาตุน้ำ (อาโปธาตุ) ธาตุไฟ (เตโชธาตุ) ธาตุลม (วาโยธาตุ)
    2. ในทางพระพุทธศาสนาถือว่าสิ่งที่มีชีวิตเพิ่มอีก 2 ธาตุ คือ อากาศธาตุ (ที่ว่าง) และวิญญาณธาตุ (ธาตุรู้)
  2. (ศาสนาพุทธ) กระดูกของพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระอรหันต์ โดยทั่วไปเรียกรวมว่า พระธาตุ
    1. ถ้าเป็นกระดูกของพระพุทธเจ้า เรียก พระบรมธาตุ หรือ พระบรมสารีริกธาตุ
    2. ถ้าเป็นกระดูกส่วนใดส่วนหนึ่งของพระพุทธเจ้า ก็เรียกตามความหมายของคำนั้น ๆ เช่น พระอุรังคธาตุ พระทันตธาตุ, ถ้าเป็นผมของพระพุทธเจ้า เรียกว่า พระเกศธาตุ
  3. (ศาสนาพุทธ) ชื่อคัมภีร์ในพระพุทธศาสนาซึ่งว่าด้วยธาตุ (1)
  4. (เคมี) สารเนื้อเดียวล้วนซึ่งประกอบด้วยบรรดาอะตอมที่มีโปรตอนจำนวนเดียวกันในนิวเคลียส
  5. (ไวยากรณ์) รากศัพท์ของคำบาลีสันสกฤต เป็นต้น เช่น
    "ธาตุ" มาจาก "ธา ธาตุ" ในความว่า "ทรงไว้"
    "สาวก" มาจาก "สุ ธาตุ" ในความว่า "ฟัง"
    "กริยา" มาจาก "กฤ ธาตุ" ในความว่า "กระทำ"

คำเกี่ยวข้อง[แก้ไข]

ภาษาอีสาน[แก้ไข]

คำนาม[แก้ไข]

ธาตุ

  1. เจดีย์ที่บรรจุกระดูกคนที่เผาแล้ว

ภาษาบาลี[แก้ไข]

รากศัพท์[แก้ไข]

ธา +‎ ตุ หรือ ธา +‎ ตรฺ

รูปแบบอื่น[แก้ไข]

คำนาม[แก้ไข]

ธาตุ ญ. หรือ ช.

  1. อีกรูปหนึ่งของ ธาตรฺ: ธาตุ

คำนาม[แก้ไข]

ธาตุ ช.

  1. ธาตุศัพท์

การผันรูป[แก้ไข]

แจกตามแบบ รชฺชุ

หรือแจกตามแบบ สตฺถุ หรือ สตฺถรฺ (กติปยศัพท์)

ข้อผิดพลาด Lua ใน package.lua บรรทัดที่ 80: module 'Module:pi-Latn-translit' not found