พร่อง

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี
ดูเพิ่ม: พร้อง

ภาษาไทย[แก้ไข]

รากศัพท์[แก้ไข]

สืบทอดจากภาษาไทดั้งเดิม *broːŋᴮ; ร่วมเชื้อสายกับภาษาลาว ພ່ອງ (พ่อง), ภาษาคำเมือง ᨻᩕᩬ᩵ᨦ (พรอ่ง) หรือ ᨽᩬ᩵ᨦ (ภอ่ง), ᨽᩬ᩵ᨦ (ภอ่ง), ภาษาไทลื้อ ᦘᦸᧂᧈ (ภ่อ̂ง), ภาษาไทใหญ่ ၽွင်ႈ (ผ้อ̂ง)ภาษาจ้วงแบบจั่วเจียง pyonghภาษาจ้วง byongh

การออกเสียง[แก้ไข]

การแบ่งพยางค์
{ไม่ตามอักขรวิธี; เสียงสระสั้น}
พฺร็่อง
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงprɔ̂ng
ราชบัณฑิตยสภาphrong
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/pʰrɔŋ˥˩/(สัมผัส)

คำกริยาวิเศษณ์[แก้ไข]

พร่อง (คำอาการนาม ความพร่อง)

  1. ไม่เต็มตามอัตราเพราะลดหรือขาดไป
    ตักแกงพร่อง
    ทำงานไม่พร่อง
    กินไม่รู้จักพร่อง

คำกริยา[แก้ไข]

พร่อง (คำอาการนาม การพร่อง)

  1. ยุบไปหรือลดไปจากเดิม
    น้ำในโอ่งพร่องไป
    ข้าวสารในกระสอบพร่องไป

ดูเพิ่ม[แก้ไข]