มาด

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี

ภาษาไทย[แก้ไข]

การออกเสียง[แก้ไข]

การแบ่งพยางค์มาด
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงmâat
ราชบัณฑิตยสภาmat
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/maːt̚˥˩/(สัมผัส)
คำพ้องเสียง

รากศัพท์ 1[แก้ไข]

คำนาม[แก้ไข]

มาด

  1. ชื่อเรือขุดชนิดหนึ่ง ยาวประมาณ 4 วา, ถ้าเพียงแต่ขุดไว้ แต่ยังไม่ได้เบิก เรียกว่า มาดเรือโกลน หรือ ลูกมาด, ถ้ามีประทุน เรียกว่า เรือมาดประทุน, ถ้ามีเก๋ง เรียกว่า เรือมาดเก๋ง

รากศัพท์ 2[แก้ไข]

คำนาม[แก้ไข]

มาด

  1. (ภาษาปาก) ท่าทาง
    มาดเขาดี
    วางมาด

รากศัพท์ 3[แก้ไข]

คำกริยา[แก้ไข]

มาด (คำอาการนาม การมาด)

  1. มุ่ง, หมายไว้, คาดไว้, มักใช้เข้าคู่กับคำ มุ่ง เป็น มุ่งมาด

ภาษาคำเมือง[แก้ไข]

การออกเสียง[แก้ไข]

คำนาม[แก้ไข]

มาด

  1. อีกรูปหนึ่งของ ᨾᩣ᩠ᨯ (มาด)

ภาษาชอง[แก้ไข]

รากศัพท์[แก้ไข]

สืบทอดจากภาษามอญ-เขมรดั้งเดิม *rmaas ~ *rmi(i)s; ร่วมเชื้อสายกับภาษาเขมร រមាស (รมาส), ภาษาไทย ระมาด

คำนาม[แก้ไข]

มาด

  1. แรด

ภาษาอีสาน[แก้ไข]

รากศัพท์[แก้ไข]

ร่วมเชื้อสายกับภาษาไทย มาศ, ภาษาลาว ມາດ (มาด), ภาษาคำเมือง ᨾᩣ᩠ᨯ (มาด), ภาษาเขิน ᨾᩣ᩠ᨯ (มาด), ภาษาไทลื้อ ᦙᦱᧆ (มาด)

การออกเสียง[แก้ไข]

คำนาม[แก้ไข]

มาด

  1. กำมะถัน

อ้างอิง[แก้ไข]