หาม

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี
ดูเพิ่ม: ห่าม และ ห้าม

ภาษาไทย[แก้ไข]

การออกเสียง[แก้ไข]

การแบ่งพยางค์หาม
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงhǎam
ราชบัณฑิตยสภาham
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/haːm˩˩˦/(สัมผัส)

รากศัพท์ 1[แก้ไข]

สืบทอดจากภาษาไทดั้งเดิม *trwaːmᴬ; ร่วมเชื้อสายกับภาษาคำเมือง ᩉᩣ᩠ᨾ (หาม), ภาษาลาว ຫາມ (หาม), ภาษาไทลื้อ ᦠᦱᧄ (หาม), ภาษาไทดำ ꪬꪱꪣ (หาม), ภาษาไทใหญ่ ႁၢမ် (หาม), ภาษาจ้วง ram, ภาษาจ้วงแบบจั่วเจียง ham, ภาษาแสก หร่าม

คำกริยา[แก้ไข]

หาม (คำอาการนาม การหาม)

  1. เอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งห้อยกลางไม้หรือวางบนเปลเป็นต้น แล้วช่วยกันหิ้วหรือยกไป
  2. ช่วยกันยกหัวและท้ายพาไป

รากศัพท์ 2[แก้ไข]

ตัดมาจากภาษาเขมร ព្រហាម (พฺรหาม)

คำคุณศัพท์[แก้ไข]

หาม

  1. รุ่ง, สว่าง, ฮาม ก็ว่า

คำสลับอักษร[แก้ไข]