ห่า

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี
ดูเพิ่ม: หา, หำ, ห้า, และ ห้ำ

ภาษาไทย[แก้ไข]

การออกเสียง[แก้ไข]

การแบ่งพยางค์ห่า
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงhàa
ราชบัณฑิตยสภาha
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/haː˨˩/(สัมผัส)

รากศัพท์ 1[แก้ไข]

สืบทอดจากภาษาไทดั้งเดิม *raːᴮ; ร่วมเชื้อสายกับภาษาคำเมือง ᩁ᩵ᩣ (ร่า), ภาษาเขิน ᩁ᩵ᩣ (ร่า), ภาษาอีสาน ห่า, ภาษาลาว ຮ່າ (ฮ่า), ภาษาไทใหญ่ ႁႃႈ (ห้า), ภาษาพ่าเก ꩭႃ (หา), ภาษาอาหม 𑜍𑜠 (ระ), ภาษาจ้วง raq, ภาษาจ้วงแบบจั่วเจียง raq

คำนาม[แก้ไข]

ห่า

  1. ชื่อผีจำพวกหนึ่ง ถือกันว่าทำให้เกิดโรคระบาดอย่างร้ายแรง เป็นเหตุให้คนตายจำนวนมาก เช่น โรคลงราก (อหิวาตกโรค) กาฬโรค จึงเรียกโรคนี้ว่า โรคห่า
    ผีห่าซาตาน
  2. (ภาษาปาก, หยาบคาย) ใช้เรียกบุคคลที่ไม่พึงประสงค์
    ไอ้ห่า
    อีห่า
  3. (ภาษาปาก, ล้าสมัย) อหิวาตกโรค
    โรคห่า

รากศัพท์ 2[แก้ไข]

สืบทอดจากภาษาไทดั้งเดิม *kraːᴮ; ร่วมเชื้อสายกับภาษาคำเมือง ᩉ᩵ᩣ (ห่า), ภาษาเขิน ᩉ᩵ᩣ (ห่า), ภาษาอีสาน ห่า, ภาษาลาว ຫ່າ (ห่า), ภาษาไทใหญ่ ႁႃႇ (ห่า), ภาษาไทลื้อ ᦠᦱᧈ (ห่า), ภาษาพ่าเก ꩭႃ (หา), ภาษาอาหม 𑜍𑜠 (ระ), ภาษาจ้วง haq, ภาษาจ้วงแบบจั่วเจียง haq

คำนาม[แก้ไข]

ห่า

  1. (โบราณ) หน่วยวัดปริมาณน้ำฝนโดยกำหนดว่า ถ้าตกลงมาเต็มบาตรขนาดกลางที่ตั้งรองไว้กลางแจ้ง เรียกว่า น้ำฝนห่าหนึ่ง
  2. โดยปริยายใช้กับสิ่งที่มาหรือตกลงมาเป็นจำนวนมาก, บางทีก็ใช้ว่า ห่าฝน
    ฝนตกลงมาห่าใหญ่
    ฝูงเครื่องบินทิ้งระเบิดถล่มข้าศึกเป็นห่าฝน

ภาษาอีสาน[แก้ไข]

รูปแบบอื่น[แก้ไข]

  • ห้า (สะกดตามภาษาไทยหรือลาว)

เลข[แก้ไข]

ห่า

  1. ห้า