เทียบ

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี

ภาษาไทย[แก้ไข]

การออกเสียง[แก้ไข]

การแบ่งพยางค์เทียบ
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงtîiap
ราชบัณฑิตยสภาthiap
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/tʰia̯p̚˥˩/(สัมผัส)

รากศัพท์ 1[แก้ไข]

เทียบภาษาเขมร ទៀប (เทียบ, อยู่ใกล้กัน), ภาษาลาว ທຽບ (ทย̂บ)

คำกริยา[แก้ไข]

เทียบ (คำอาการนาม การเทียบ)

  1. เอามาให้ติด
    จอดเรือเทียบท่า
    เทียบรถ
  2. เอามาให้ใกล้กัน
    เอาเรือเล็กเข้าเทียบเรือใหญ่
  3. เปรียบ
    เอาผ้า 2 ชิ้นมาเทียบสีกัน
  4. จัด, แต่ง
    เทียบสำรับ
  5. (ราชาศัพท์) ชิมอาหารหรือยาก่อนที่จะถวายพระเจ้าแผ่นดินหรือเจ้านายเพื่อป้องกันสิ่งที่เป็นพิษในคำว่า เทียบเครื่อง เทียบพระโอสถ

รากศัพท์ 2[แก้ไข]

ยืมมาจากภาษาแคะ (thiap, บัตรเชิญ, ประกาศ)[1]ภาษาจ้วง diep (เตียบ-เทียบ(ยา)) , ภาษาจ้วงแบบจั่วเจียง tiep (เทียบ-เทียบ(ยา))

คำนาม[แก้ไข]

เทียบ

  1. บัตรเชิญ

คำลักษณนาม[แก้ไข]

เทียบ

  1. เรียกยาจีนที่จัดเป็นชุด
    ยาเทียบหนึ่ง
    ยา 2 เทียบ

อ้างอิง[แก้ไข]