เลย

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี
ดูเพิ่ม: เลีย

ภาษาไทย[แก้ไข]

รูปแบบอื่น[แก้ไข]

การออกเสียง[แก้ไข]

การแบ่งพยางค์เลย
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงləəi
ราชบัณฑิตยสภาloei
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/lɤːj˧/(สัมผัส)

รากศัพท์ 1[แก้ไข]

ร่วมเชื้อสายกับภาษาลาว ເລີຍ (เลีย), ภาษาไทใหญ่ လိူဝ် (เลิว)

คำกริยา[แก้ไข]

เลย (คำอาการนาม การเลย)

  1. พ้นหรือเกินจุดที่กำหนด
    เลยเวลาเที่ยงไปตั้งนาน
    รถเลยบ้านไปแล้ว
    อายุเลยวัยกลางคน
คำแปลภาษาอื่น[แก้ไข]

คำกริยาวิเศษณ์[แก้ไข]

เลย

  1. แสดงการกระทำกริยาอีกอย่างหนึ่งต่อไป ใช้ประกอบหน้ากริยา
    จะไปซื้อของแล้วเลยกินข้าวนอกบ้าน
    ผมเปียกแล้วเลยสระผมเสียด้วย
  2. เน้นความว่า ทันที, ทีเดียว ใช้ประกอบหลังคำอื่น
    ออกจากนี่แล้วไปเลยไม่ต้องแวะเวียนที่ไหน
    พอนั่งโต๊ะก็กินเลยไม่รอใคร
    อายุ ๗๐ แล้วยังดูหนุ่มอยู่เลย
  3. โดยสิ้นเชิง, แม้แต่น้อย
    ฉันไม่เชื่อเลย ไม่เห็นด้วยเลย
    ซื้อของจนเงินหมดกระเป๋าเลย
คำแปลภาษาอื่น[แก้ไข]

คำสันธาน[แก้ไข]

รากศัพท์[แก้ไข]

ร่วมเชื้อสายกับภาษาจ้วงแบบจั่วเจียง leh (แล่-จึง ก็เลย)

  1. จึง
    ทำถ้วยเขาแตกเลยต้องใช้เงินเขา
    รถเมล์จอดพ้นป้ายไปมาก เลยต้องเดินย้อนกลับมาใหม่
คำแปลภาษาอื่น[แก้ไข]

รากศัพท์ 2[แก้ไข]

วิกิพีเดียมีบทความเกี่ยวกับ:
Wikipedia
จังหวัดเลย

คำวิสามานยนาม[แก้ไข]

เลย

  1. (จังหวัด~) ชื่อจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย
    คำพ้องความ: (อักษรย่อ) ลย
คำแปลภาษาอื่น[แก้ไข]