แล

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี
ดูเพิ่ม: แล่ และ แล้

ภาษาไทย[แก้ไข]

การออกเสียง[แก้ไข]

การแบ่งพยางค์แล
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงlɛɛ
ราชบัณฑิตยสภาlae
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/lɛː˧/(สัมผัส)

รากศัพท์ 1[แก้ไข]

ร่วมเชื้อสายกับภาษาปักษ์ใต้ แล, ภาษาอีสาน แล, ภาษาลาว ແລ (แล), ภาษาคำเมือง ᩃᩯ (แล), ภาษาเขิน ᩃᩯ (แล), ภาษาไทลื้อ ᦶᦟ (แล), ภาษาไทดำ ꪵꪩ (แล), ภาษาอาหม 𑜎𑜦𑜧 (เล), ภาษาจ้วง lez (แล, มอง, ดู)

คำกริยา[แก้ไข]

แล (คำอาการนาม การแล)

  1. (สกรรม) ดู, มอง
    สองตาก็ไม่อยากแล
    เหลียวซ้ายแลขวา
  2. ทอดตาดูเพื่อให้รู้ให้เห็น, มักใช้เข้าคู่กับคำ ดู หรือ เห็น เป็น แลดู แลเห็น
คำสืบทอด[แก้ไข]
  • เขมร: លែ (แล)

รากศัพท์ 2[แก้ไข]

คำกริยาวิเศษณ์[แก้ไข]

แล

  1. อาการที่ทิ้งไว้นานโดยไม่ใส่ใจ, แร ก็ว่า
    กับข้าวทิ้งแลไว้บนโต๊ะไม่มีคนกิน
    ของวางแลไม่มีคนซื้อ

คำอนุภาค[แก้ไข]

แล

  1. ทีเดียว, ฉะนี้, (มักใช้ในที่สุดประโยคหรือข้อความ หรือคำลงท้ายคำประพันธ์)
    ยมพะบาลจับผู้หญิงผู้ชายจำให้ขึ้นจำให้ลงหากันดั่งนั้นหลายคาบหลายคราลำบากนักหนาแล
    (ไตรภูมิ)
    ห่อนข้าคืนสม แม่แล ฯ
    (เตลงพ่าย)

รากศัพท์ 3[แก้ไข]

ร่วมเชื้อสายกับภาษาลาว ແລະ (และ), ภาษาไทลื้อ (แหฺล), ภาษาไทใหญ่ လႄႈ (แล้), ภาษาอาหม 𑜎𑜦𑜧 (เล)

คำสันธาน[แก้ไข]

แล

  1. รูปที่เลิกใช้ของ และ
    ให้ประกาศแก่พระราชวงศานุวงศ์แลข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อยฝ่ายหน้าฝ่ายในแลราษฎรในกรุงแลหัวเมืองให้ทราบทั่วกัน
    (ประกาศ ร. 4)
    ฝูงเทพยดาถือค้อนแลตระบองเทียรย่อมแก้วมณีรัตนะเป็นบริวาร
    (ไตรภูมิ)

ภาษาปักษ์ใต้[แก้ไข]

การออกเสียง[แก้ไข]

คำกริยา[แก้ไข]

แล (คำอาการนาม ก่านแล)

  1. (สกรรม) ดู, มอง

คำพ้องความ[แก้ไข]

อ้างอิง[แก้ไข]

  • แล” ใน Central Southern Thai Dictionary (Kaewkhao, Uthai และ Kiatboonyarit, Tawan: ประเทศไทย: US Peace Corps 1986), หน้าที่ 10