หมอง

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี
ดูเพิ่ม: หมองู และ หม่อง

ภาษาไทย[แก้ไข]

การออกเสียง[แก้ไข]

การแบ่งพยางค์หฺมอง
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงmɔ̌ɔng
ราชบัณฑิตยสภาmong
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/mɔːŋ˩˩˦/(สัมผัส)

รากศัพท์ 1[แก้ไข]

สืบทอดจากภาษาไทดั้งเดิม *ʰmoːŋᴬ; ร่วมเชื้อสายกับภาษาลาว ໝອງ (หมอง), ภาษาไทใหญ่ မွင် (มอ̂ง), ภาษาอาหม 𑜉𑜨𑜂𑜫 (มอ̂ง์), ภาษาจ้วง mong; เทียบภาษาเขมร ហ្មង (หฺมง)

คำคุณศัพท์[แก้ไข]

หมอง (คำอาการนาม ความหมอง)

  1. ขุ่น, มัว
    เครื่องแก้วหมอง
    เครื่องเงินหมอง
  2. ไม่ผ่องใส, ไม่แจ่มใส
    หน้าหมอง

รากศัพท์ 2[แก้ไข]

แผลงมาจาก สมอง

คำนาม[แก้ไข]

หมอง

  1. (ภาษาปาก) สมอง