อ่าน

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี
ดูเพิ่ม: อาน

ภาษาไทย[แก้ไข]

รากศัพท์[แก้ไข]

สืบทอดจากภาษาไทดั้งเดิม *ʔaːnᴮ; ร่วมเชื้อสายกับภาษาลาว ອ່ານ (อ่าน), ภาษาคำเมือง ᩋ᩵ᩣ᩠ᨶ (อ่าน), ภาษาไทลื้อ ᦀᦱᧃᧈ (อ่าน), ภาษาไทดำ ꪮ꪿ꪱꪙ (อ่าน), ภาษาไทใหญ่ ဢၢၼ်ႇ (อ่าน), ภาษาไทใต้คง ᥟᥣᥢᥱ (อ่าน), ภาษาอาหม 𑜒𑜃𑜫 (อน์); เทียบภาษาเขมร អាន (อาน)

การออกเสียง[แก้ไข]

การแบ่งพยางค์อ่าน
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงàan
ราชบัณฑิตยสภาan
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/ʔaːn˨˩/(สัมผัส)
ไฟล์เสียง

คำกริยา[แก้ไข]

อ่าน (คำอาการนาม การอ่าน)

  1. (สกรรม) ว่าตามตัวหนังสือ, ถ้าออกเสียงด้วย เรียกว่า อ่านออกเสียง, ถ้าไม่ต้องออกเสียง เรียกว่า อ่านในใจ
  2. (สกรรม) สังเกตหรือพิจารณาดูเพื่อให้เข้าใจ
    อ่านสีหน้า
    อ่านริมฝีปาก
    อ่านใจ
  3. (สกรรม) ตีความ
    อ่านรหัส
    อ่านลายแทง
  4. (สกรรม) คิด, นับ

คำแปลภาษาอื่น[แก้ไข]