พาน

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี
ดูเพิ่ม: พ่าน

ภาษาไทย[แก้ไข]

พาน (ภาชนะ)

การออกเสียง[แก้ไข]

การแบ่งพยางค์พาน
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงpaan
ราชบัณฑิตยสภาphan
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/pʰaːn˧/(สัมผัส)
คำพ้องเสียง

รากศัพท์ 1[แก้ไข]

ยืมมาจากภาษาจีนเก่า (OC *baːn, “ถาด”); ร่วมเชื้อสายกับภาษาลาว ພານ (พาน), ภาษาไทดำ ꪝꪱꪙ (ป̱าน) หรือ ꪟꪱꪙ (พาน), ภาษาพม่า ဗန်း (พน์:, ถาด), ภาษาไทใหญ่ ပၢၼ်ႉ (ป๎าน, ถาด), และอาจรวมไปถึงภาษาเขมร ពាន (พาน) (Pou and Jenner, 1980-1981)

รูปแบบอื่น[แก้ไข]

คำนาม[แก้ไข]

พาน

  1. ภาชนะมีเชิงประเภทหนึ่ง มีหลายชนิด บางชนิดมีรูปทรงคล้ายจาน บางชนิดมีรูปทรงคล้ายขัน เชิงมีรูปร่างต่าง ๆ กัน ใช้สำหรับใส่สิ่งของมีดอกไม้ธูปเทียน เป็นต้น

รากศัพท์ 2[แก้ไข]

คำนาม[แก้ไข]

พาน

  1. ตอน, บั้น (ใช้แก่สิ่งของบางชนิด)
    พานท้ายปืน
    พานท้ายเรือ

รากศัพท์ 3[แก้ไข]

คำนาม[แก้ไข]

พาน

  1. ฐานของนมหรือเต้านมเกิดเป็นไตแข็งขึ้นเริ่มอาการแห่งความเป็นหนุ่มสาว
    นมขึ้นพาน
    นมแตกพาน

รากศัพท์ 4[แก้ไข]

คำกริยาวิเศษณ์[แก้ไข]

พาน

  1. ทำท่าว่า
    พานจะเป็นลม
    พานจะตาย
    พานจะโกรธ
    พี่ก็พานแก่ชราหูตามัว
    (สังข์ทอง)

รากศัพท์ 5[แก้ไข]

คำกริยา[แก้ไข]

พาน (คำอาการนาม การพาน)

  1. พบปะ
    ไม่ได้พบพานเสียนาน
  2. ขวาง, กีดขวาง, ขึงขวาง
    เอาเชือกมาพานไว้ เมื่อคนมาปะทะก็จะล้มลง
  3. กั้นไว้
    พานคนข้างหลังไว้
  4. ระให้หมดไป
    เอาไม้กวาดพานหยากไย่
การใช้[แก้ไข]

ในความหมายว่า พบปะ มักใช้เข้าคู่กับคำ พบ เป็น พบพาน หรือ พานพบ

รากศัพท์ 6[แก้ไข]

วิกิพีเดียมีบทความเกี่ยวกับ:
Wikipedia

คำวิสามานยนาม[แก้ไข]

พาน

  1. ชื่ออำเภอหนึ่งในจังหวัดเชียงราย