ร้อน

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี
ดูเพิ่ม: รอน และ ร่อน

ภาษาไทย[แก้ไข]

รากศัพท์[แก้ไข]

สืบทอดจากภาษาไทตะวันตกเฉียงใต้ดั้งเดิม *rɔːnꟲ⁴, จากภาษาไทดั้งเดิม *rwuːlꟲ; ร่วมเชื้อสายกับภาษาคำเมือง ᩁᩬ᩶ᩁ (รอ้ร), ภาษาอีสาน ฮ้อน, ภาษาลาว ຮ້ອນ (ฮ้อน), ภาษาไทลื้อ ᦣᦸᧃᧉ (ฮ้อ̂น), ภาษาไทดำ ꪭ꫁ꪮꪙ (ฮ้อน), ภาษาไทขาว ꪭꪮꪙꫂ, ภาษาไทใหญ่ ႁွၼ်ႉ (ห๎อ̂น), ภาษาไทใต้คง ᥞᥩᥢᥳ (ห๎อ̂น), ภาษาพ่าเก ꩭွꩫ် (หอ̂น์), ภาษาอาหม 𑜍𑜨𑜃𑜫 (รอ̂น์), ภาษาแสก รูน, ภาษาจ้วงแบบจั่วเจียง lonx (ล้อน) (เมืองหลงอาน), ภาษาจ้วงใต้ lanx/lvanx (ล้าน/ลว้าน) (เมือง Daxin)

การออกเสียง[แก้ไข]

การแบ่งพยางค์ร้อน
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงrɔ́ɔn
ราชบัณฑิตยสภาron
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/rɔːn˦˥/(สัมผัส)

คำคุณศัพท์[แก้ไข]

ร้อน (คำอาการนาม ความร้อน)

  1. มีความรู้สึกตามผิวหนังเหมือนถูกไฟเป็นต้น
    คำพ้องความ: ดูที่ อรรถาภิธาน:ร้อน
    คำตรงข้าม: เย็น, หนาว
  2. มีอุณหภูมิสูง, มีพลังงานความร้อนมาก
    คำพ้องความ: ดูที่ อรรถาภิธาน:ร้อน
    คำตรงข้าม: เย็น
    น้ำร้อน
    อากาศร้อน
  3. กระวนกระวาย
    ร้อนใจ
  4. รีบเร่ง, ช้าอยู่ไม่ได้
    งานร้อน

คำนาม[แก้ไข]

ร้อน

  1. (ภาษาปาก) คำพ้องความของ ฤดูร้อน