เที่ยง

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี
ดูเพิ่ม: เทียง

ภาษาไทย[แก้ไข]

รากศัพท์[แก้ไข]

ยืมมาจากภาษาจีนยุคกลาง (MC dengH); ร่วมเชื้อสายกับภาษาคำเมือง ᨴ᩠ᨿ᩵ᨦ (ทย่ง), ภาษาเขิน ᨴ᩠ᨿ᩵ᨦ (ทย่ง), ภาษาลาว ທ່ຽງ (ท่ย̂ง), ภาษาไทลื้อ ᦵᦑᧂᧈ (เท่ง), ภาษาไทใหญ่ တဵင်ႈ (เต้ง), ภาษาอาหม 𑜄𑜢𑜂𑜫 (ติง์), ภาษาจ้วงแบบหนง dingh หรือ dingq, ภาษาแสก เถี้ยง

การออกเสียง[แก้ไข]

การแบ่งพยางค์เที่ยง
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงtîiang
ราชบัณฑิตยสภาthiang
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/tʰia̯ŋ˥˩/(สัมผัส)

คำคุณศัพท์[แก้ไข]

เที่ยง (คำอาการนาม ความเที่ยง)

  1. ตรง
    กิโลนี้ไม่เที่ยง
  2. แน่นอน
    สังขารไม่เที่ยง
  3. ที่สะท้อนตรงกับความเป็นจริง ในคำว่า กระจกเที่ยง
  4. แน่, แม่นยำ, ในคำว่า มือเที่ยง

คำกริยาวิเศษณ์[แก้ไข]

เที่ยง (คำอาการนาม ความเที่ยง)

  1. ตรง
    นาฬิกาเดินเที่ยง
  2. แน่นอน

คำประสม[แก้ไข]

คำนาม[แก้ไข]

เที่ยง

  1. เรียกเวลากึ่งกลางของกลางวันที่พระอาทิตย์อยู่ตรงศีรษะว่า เที่ยง หรือ เที่ยงวัน ตรงกับ 12 นาฬิกา
  2. เรียกเวลากึ่งกลางของกลางคืนว่า เที่ยงคืน ตรงกับ 24 นาฬิกา หรือ 0 นาฬิกา

คำประสม[แก้ไข]