กรรมวาจก

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี

ภาษาไทย[แก้ไข]

การออกเสียง[แก้ไข]

การแบ่งพยางค์กำ-มะ-วา-จก
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงgam-má-waa-jòk
ราชบัณฑิตยสภาkam-ma-wa-chok
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/kam˧.ma˦˥.waː˧.t͡ɕok̚˨˩/(สัมผัส)

คำนาม[แก้ไข]

กรรมวาจก

  1. (ไวยากรณ์) ระเบียบของกริยาที่บอกว่าประธานเป็นกรรมการกหรือผู้ถูกทำ, กริยาของประโยคที่แสดงว่าประธานทำหน้าที่เป็นกรรมการก คือ ผู้ถูกทำ, กริยาของประโยคกรรมต้องใช้สกรรมกริยา คือ กริยาที่ต้องมีกรรมรับ, บางทีก็มีกริยานุเคราะห์ “ถูก” นำ และใช้หมายไปในทางไม่ดี เช่น เด็กถูกตี ถูกตี เป็นกริยา กรรมวาจก เด็กเป็นกรรมการก แต่บางทีก็ไม่ปรากฏกริยานุเคราะห์ “ถูก” เช่น หนังสือเล่มนี้แต่งดีมาก

ดูเพิ่ม[แก้ไข]