ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:เคน สองแคว

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี
           ดอย อินทนนท์ นักแต่งเพลงลูกทุ่ง หมอลำที่มีผลงานได้รับการยอมรับในวงการ ซึ่งในจุดเริ่มต้นการทำงานได้แต่งเพลงในแนวลูกกรุงด้วย นักร้องในวงการเพลงส่วนใหญ่ได้ขับร้องเพลงจากปลายปากกา ครูดอย อินทนนท์ ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน   

ประวัติ'

    ดอย  อินทนนท์  ชื่อจริง  สมบูรณ์  สมพันธ์   เกิดเมื่อวันที่ 21 เม.ย.2490  หมู่ที่ 7  บ้านโนนจาน  ตำบลแคน  อำเภอรัตนบุรี (ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นอำเภอสนม)  จังหวัดสุรินทร์  พ่อชื่อลี สมพันธ์ แม่ชื่อเสาว์  สมพันธ์   จบการศึกษาชั้นมัธยม 3  ที่โรงเรียนสนมศึกษาคาร  จังหวัดสุรินทร์

หลังจบการศึกษาช่วยพ่อแม่ทำนา พออายุได้ 17 ปี ไปบรรพชาเป็นสามเณร อยู่ที่วัดเขาล้อ อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์ เมื่อบวชแล้วก็มีโอกาสได้ศึกษาเล่าเรียนธรรมวินัย โดยไปเรียนที่วัดแสงสวรรค์ อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ จนสอบได้นักธรรมเอก เข้าสู่วงการนักแต่งเพลง

เนื่องจากเป็นคนชอบการแต่งกลอนมาตั้งแต่สมัยเรียนอยู่ชั้นมัธยม ได้ฝึกแต่งเพลงมาตั้งแต่เรียนมัธยมเช่นเดียวกัน ในระหว่างการบวชเรียนเมื่อว่างเว้นจากการเรียน สามเณรสมบูรณ์ก็ฝึกแต่งเพลงไปเรื่อย และคิดว่าเมื่อแต่งเสร็จแล้วจะเก็บเอาไว้ก็จะไม่เกิดประโยชน์ จึงได้นำผลงานเพลงไปนำเสนอให้ครู พยงค์ มุกดา พิจารณา ราวปี พ.ศ.2508 -2509 เมื่อครูพยงค์พิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นเพลงดี จึงได้ให้นักร้องในวงร้องบันทึกเสียง 3 เพลงด้วยกัน เพลงแรก “พอทีนครสวรรค์” ให้ ชินกร ไกรลาศ ขับร้อง เพลงที่ 2 “หนุ่มอีสาน” ชินกร ไกรลาศ ขับร้องเช่นเดียวกัน ส่วนเพลงที่ 3 “สาวอีสาน” เป็นเพลงแก้ ให้ ศรีสอางค์ ตรีเนตร นักร้องในวงดนตรีชินกรขับร้อง ครูพยงค์นำเพลงทั้ง 3 ไปเปิดออกอากาศในรายการที่ท่านจัด ที่สถานีวิทยุยานเกราะขวัญใจชนบท และประกาศว่า “เป็นการแต่งของ “สมบูรณ์ สมพันธ์” เพื่อน ๆ ได้ฟังก็วิ่งมาบอก พอได้ฟังผลงานของตัวเองก็รู้สึกดีใจจนบอกไม่ถูก ที่ได้เป็นนักแต่งเพลงโดยไม่รู้ตัว จนกระทั่งปี พ.ศ.2510 ก่อนเข้าพรรษาได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุแล้ว ครูพยงค์ให้คนตามตัวไปพบ จึงเดินทางเข้ากรุงเทพฯ เมื่อได้พบกัน คำแรกที่ครูพยงค์ถามก็คือ “อยากจะสึกไหม” รู้สึกอ้ำอึ้งอยู่นานพอสมควร การจะสึกจากพระที่บวชเรียนมาจนได้นักธรรมเอก ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะตัดสินใจ จึงยังไม่รับปากในทันใด แต่ก็ไม่เชิงปฏิเสธ ก่อนกลับครูพยงค์บอกอีกครั้งว่า "ถ้าสึกแล้วก็มาอยู่ด้วยกันได้เลยนะ” แล้วครูพยงค์ มุกดา ถวายเงินให้ 1,000 บาท เป็นค่าเดินทางและค่าเพลง ครูดอยเก็บความดีใจเดินทางกลับนครสวรรค์ แล้วก็ตัดสินใจลาสิกขาก่อนเข้าพรรษาในปี พ.ศ.2510 นั้นเอง เมื่อสึกจากพระแล้ว ก็เดินทางเข้ากรุงเทพฯ ทันที ไปพบครูพยงค์ที่สำนักงาน ครูพยงค์ให้การต้อนรับเป็นอย่างดี และให้พักอาศัยอยู่ที่บ้านของครูเลย มอบหน้าที่ให้เป็นนักแต่งเพลงประจำวง การแต่งเพลงยุคแรก ๆ ใช้ชื่อว่า สรบุศย์ สมพันธ์ และ ส. สมพันธ์ ต่อมาก็แต่งเพลงให้กับนักร้องประจำวงดนตรี “ มุกดาพันธ์ ” ร้องอีกหลายคน อาทิ เพลง “กระท่อมสาวเมิน” ชินกร ไกรลาศ ขับร้อง “สาวพระประแดง” ชัยณรงค์ บุญนะโชติ ขับร้อง และยังมีเพลงแนวลูกกรุง คือ “คุณช่างสวย” ธานินทร์ อินทรเทพ ขับร้อง แต่งเพลง “อภันตรีที่รัก” อรรณพ อานุสรณ์ ขับร้อง โดยใช้นามปากกาในการแต่งเพลงไทยสากล คือ บูรณพันธ์ มีโอกาสแต่งเพลงให้นักร้องต่างวงร้องหลายคน เช่น แต่งเพลง “ขอเป็นหมอนข้าง” ให้ โรม ศรีธรรมราช ในสมัยที่โรมอยู่กับวงดนตรี “ศรีนวล สมบัติเจริญ” บันทึกเสียงเป็นเพลงแรกของเขา แต่งเพลง “รักทหารดีกว่า” ให้ รังสรรค์ จิระสุข ขับร้อง เพลงเริ่มโด่งดังมากในยุคนั้น และได้แต่งเพลงให้นักร้องในวง “จิระบุตร” ร้องอีกหลายคน

    ครูดอยอยู่กับวงครูพยงค์  มุกดา ได้ 4 ปี  ก็ลาออก หลังจากนั้นก็ไปตระเวนอยู่ทางภาคเหนือ 3 - 4 ปี  เกิดความประทับใจกับ “ยอดดอยอินทนนท์”   จึงนำมาเป็นนามปากกาซึ่งถือเป็นมงคลนาม กลายเป็นชื่อในการแต่งเพลงว่า   “ดอย  อินทนนท์”  ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

ผลงานการแต่งเพลงในชื่อ ดอย อินทนนท์

    ช่วงที่นักร้องหวานใจคนใหม่  ศรชัย  เมฆวิเชียร  เริ่มมีชื่อเสียง   ครูฉลอง  ภู่สว่าง  ก็ชักชวนให้มาช่วยแต่งเพลงให้ศรชัย  ครูก็มาร่วมงาน  เพลงชุดแรกที่ช่วยกันแต่งให้ศรชัย  คือชุด “อ้อนจันทร์” และ “จันทร์อ้อน”   พอแต่งเสร็จ  เพลง “อ้อนจันทร์” ใช้ชื่อครูฉลอง ภู่สว่าง เป็นผู้แต่ง  ส่วนเพลง “จันทร์อ้อน” ซึ่งเป็นเพลงแก้ที่ ผ่องศรี  วรนุช ร้อง  ใช้ชื่อครู ดอย  อินทนนท์ เป็นผู้แต่ง  หลังจากนั้นครูก็แต่งเพลงป้อนให้ศรชัย  เมฆวิเชียร ร้องจนโด่งดังอีกร่วม 30 เพลง  เช่น เสียงซอสั่งสาว,  บัวหลวงบึงพลาญ,  สะพานรักสะพานเศร้า, จงคอยพี่ที่อีสาน,  เสียงสะอื้นจากหนุ่มนา, หนุ่มนานอนหนาว, ซึ้งสาวปากเซ, สาวประเทืองเมืองปทุม, รักแรมไกล , ฉันรอเธอ , ไม่เคยรักใครเท่าเธอ  , แด่เจี๊ยบด้วยใจ หลังจากนั้นก็ได้แต่งให้กับ สายัณห์  สัญญา  ขับร้อง โด่งดังหลายเพลง  เช่น  รักติ๋มคนเดียว,  แม่ดอกสะเลเต, เสียงพิณสะกิดสาว

บุกเบิกเพลงอิสานแนวลำแพน

   ครูดอย แต่งเพลง "ถามข่าวสาวอีสาน"  ให้ ป.ฉลาดน้อย ส่งเสริม  ซึ่งเป็นเพื่อนสนิทและผลักดันให้ได้อัดลำเรื่องต่อกลอน ในนามคณะ เพชรอุบล ทำให้ชื่อป.ฉลาดน้อย และวงเพชรอุบล ได้รับการยอมรับจากมหาชนเป็นอย่างมาก

ครูดอยเป็นคนแรกที่บุกเบิกงานเกี่ยวกับ “ลำแพน” โดยปั้นดินให้เป็นดาว เช่น ทองมัย มาลี ในชุด “ เจ้าพ่อ 4 ไห ” พร้อมด้วยสร้าง ขวัญตา ฟ้าสว่าง ให้ดังกระฉ่อน จนได้รับฉายา สาวส่วยสะท้านวงการ ในชุดเจ้าแม่ 4 ไห และ บานเย็น รากแก่น ครูดอยได้แต่งชุด “แม่ไม้หมอลำ” 10กลอน 10สไตล์ลำ โดยแต่งคนเดียวทั้งชุด ซึ่งล้วนแต่เป็นกลอนดัง ไม่ว่าจะเป็นกลอน “ งิ้วต่องต้อนอ้อนผู้บ่าว” “ฝากรักจากแดนไกล” (ได้รับรางวัลพระพิฆเณศทองพระราชทาน) หงษ์ทอง ดาวอุดร ก็เขียนเพลง “หงส์ทองคะนองลำ” ซึ่งกลายเป็นเพลงอมตะ และเพลงอื่นๆของหงษ์ทองเกือบทั้งหมด

	นกน้อย  อุไรพร  แห่งวงเสียงอีสาน ครูดอยเขียนให้ทั้งเพลงขับร้องบันทึกเสียงและเพลงโชว์ รวมถึงเพลงเทิดไท้สถาบันและเพลงสร้างสรรค์ทั้งหมด และยังแต่งเพลงให้นักร้องฝนวงเสียงอิสาน  เช่น ลูกแพร - ไหมไทย อุไรพร มีชื่อเสียงในเพลง “ รักสาวนครสวรรค์ ” “ แฟนเลือนสะเทือนใจ ”  “ แม่ฮ้างมหาเสน่ห์ ”  ปอยฝ้าย มาลัยพร / คำมอด พรขุนเดช / สายใย อุไรพร / ไหมพรม อุดมพร / น้องแป้ง เสียงอีสาน / บุญหลง มงคลพร เป็นต้น.. 
     
    ศิลปินรุ่นใหญ่ที่ร้องผลงานของครูดอย นอกจากสองศิลปินแห่งชาติ  ป.ฉลาดน้อย กับ บานเย็น รากแก่น แล้วยังมี ทองมี มาลัย / ประสาน เวียงสิมา / อังคนางค์ คุณไชย / สุภาพ ดาวดวงเด่น / บานเย็น ศรีวงษา / ชบาไพร นามวัย / ปฤษณา วงษ์ศิริ /  อรอุมา สิงหสิริ   รวมไปถึง ศิริพร อำไพพงษ์ ที่ครูดอยเป็นผู้ตั้งชื่อและนามสกุลให้ แต่งกลอนลำให้ร้องบันทึกเสียงเป็นกลอนแรกในการเข้าสู่วงการ

ส่วนนักร้องลูกทุ่งอื่น ๆ ครูดอยยังแต่งเพลงให้ร้องอีกหลากหลาย เช่น..รุ่งเพชร แหลมสิงห์ ในเพลง “ เพชราจ๋า ” “ หนุ่มเวียดนามร้องไห้ ” “ ทำงานที่ไหน ” ไวพจน์ เพชรสุพรรณ เพลง “ บ่เที่ยวติ้อ้าย ” เพลิน พรมแดน ในแนวลูกทุ่งอีสาน บรรจบ เจริญพร เพลง “ เสียงจากบรรจบ ” มนต์ เมืองเหนือ เพลง “ ซังบางกอก ” ไพรวัลย์ ลูกเพชร เพลง “ สาวพระประแดง ” ยอดรัก สลักใจ เพลง“ วอนพระพรหม ” “ อกหักเพราะรักเล็ก ” ศักดิ์สยาม เพชรชมภู , ศรเทพ ศรทอง , สดใส รุ่งโพธิ์ทอง ในเพลง “ สาวยางแบน ” พรศักดิ์ ส่องแสง , เอกพจน์ วงศ์นาค , ชัชชัย ชัชวาล , ยิ่งยง ยอดบัวงาม , ธนา พาโชค , แดง จิตรกร , ศรเพชร ศรสุพรรณ , เอกชัย ศรีวิชัย , เกษม คมสันต์ , อ้อยใจ แดนอีสาน , รุ่ง โพธิ์ธาราม , ยุ้ย ญาติเยอะ , ดาวใต้ ปลายพระยา เพลง “ รักพี่ไข่นุ้ย ” หม่ำ จกม๊ก , ฝน ธนสุนทร , สาลี่ ขนิษฐา , ธิดา ดวงดาว , ณาตาลี สีเพชร,เสมา ทองคำ , สวนสน มนต์สวรรค์ , มโนราห์ ดาวเรือง, เพ็ญนภา มุกดามาส, สลัก ศิลาทอง, รุ้งราวัณย์ เสียงทอง, เพชร เฉลิมชัย, ธานี ศรีอุทัย, วิระ บำรุงศรี,รังสิยา สิงหศิริ,วนิดา ต้นวงศ์ , เรียม ดาราน้อย , ก.วิเศษ , ดาว มยุรี , เรณู ภูไท, กิ่งดาว จันทร์สวัสด์ ,สุริยา ฟ้าปทุม , สมหมายน้อย ดวงเจริญ ,จิตรลดา โกมลมาลย์ , อัมพร แหวนเพชร,โรส บุญเจริญ , พรพรรณ เพชรภูไท , บัวหลวง พรหมราช , สมศักดิ์ ณ ลำประโดง ,บัวขาว ดาวอุบล , ศรีวรรรณ จันทร์กระจ่าง, พิกุล ขวัญเมือง , นพดล ดวงพร, น้องยุช ดวงชีวัน , พิมพา พรศิริ , สไบแพร บัวสด , นุชนารถ นันทนา , รัชดา ผลาผล , เข็มพร แสงเพชร , แสงอรุณ บุญยู้ , รัศมี มณีนพ , ประนอม วันนะวง , เบลล์ ขนิษฐา ,ศรีไพร สาลีวง , มิ่งขวัญ ดอนมดแดง ,พรแสง แพงศรี ,ท้าววิเสด วงศ์สวรรค์ (ศิลปินลาว), ทองอินทร์ รุ่งเรือง , มงคล เพชรอุบล , หงส์น้อย ดาวอุดร , หงส์เหิน ดาวอุดร, ขวัญไทย เทพประทาน , ตู่ ตาหวาน , วิธ ธนวรรธน์ , อ๊อฟ อธิวัฒน์ ช้างน้อย ฯลฯ

      มนต์สิทธิ์ คำสร้อย ที่ครูดอยแต่งเพลงให้ ในเพลง “ อิจฉาดีเจ ” “ แฟนเทพี ” “ พะยอมบ้านนา”  และ สุนารี  ราชสีมา ในเพลง “ ฝนซาน้ำตาซึม ” “ บาดทะยักใจ ”  “ คนเลวขอร้อง ”
        ศิษย์อีกหลายคนที่เกิดในวงการจากเพลงของครูดอยโดยตรง เช่น สิทธิพร สุนทรพจน์  เพลง “ ช้ำรักจากอุบล ”  “ น้องเมย์คนใหม่ ” “ ดอกงิ้วบานที่บ้านหมี่ ” “ ลุงขาดป้า ”  “ คอยน้องที่ขอนแก่น ” และเพลงอื่นๆเกือบทั้งหมด  รวมทั้งน้องผึ้ง  บึงสามพัน ครูดอยแต่งให้มีชื่อเสียงในชุด “กองไว้ตรงนั้น”  ทั้งชุด 

ครูดอยยังสามารถทำให้ฝรั่งและราชินีลูกทุ่งสามารถลำและร้องแนวอีสานได้ชัดเจน เช่น โจนัส แอนเดอร์สัน และ คริสตี้ กิ๊บสัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคริสตี้ อัดเสียงในกลอน “ คริสตี้คะนองลำ ” “ งิ้วต่องต้อนอ้อนผู้บ่าว ” และลำคู่กับโจนัส ในกลอน . “ ฮิบฮอบพอกะเทิน ” ส่วนพุ่มพวง ดวงจันทร์ มีกลอนลำชุดเดียวในชีวิต คือ “ ลำเพลินพุ่มพวง ”. “ ขอเป็นแฟน ” . “ สาวแม่มูลคอยเก้อ ” “ เจ็บแล้วต้องจำ ” เป็นต้น...

       นอกจากนี้ ครูดอยยังเขียนให้วงรอยัลสไปรท์ ร้องในชุดสตริงอีสาน เช่นเพลง “เดียมวงกะด๋าวด่าว”   “ฝรั่งเวียดนาม” และยังมีลูกกรุงรุ่นใหญ่ได้ร้องเพลงครูดอย คือ รุ่งฤดี แพ่งผ่องใส และศรวณี โพธิเทศ  คนละ 1 ชุด 
        รวมเพลงที่ครูดอยแต่งไว้ทั้งหมด ทั้งลูกทุ่ง, ลูกกรุง, กลอนลำ, กันตรึม, เพลงเทิดทูนสถาบัน และเพลงสร้างสรรค์สัมคม ทั้งหมดเกือบ  4,000 เพลง ซึ่งถือว่าเป็นผู้ที่แต่งเพลงบันทึกเสียงมากที่สุดอีกคนหนึ่งในประเทศไทย

ชีวิตปัจจุบัน

        ครูดอย  อินทนนท์   พักอยู่บ้านเลขที่  101/10  หมู่บ้าน มณีรินทร์ลากูน โซน B  หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านกลาง  อำเภอเมือง  จังหวัดปทุมธานี   


รางวัลเกียรติยศ -พ.ศ.2520 เพลง “จันทร์อ้อน” ขับร้องโดย ผ่องศรี วรนุช ได้รับรางวัลเสาอากาศทองคำ

                                 จากสถานีวิทยุเสียงสามยอด  

-พ.ศ.2534 เพลง “เสียงซอสั่งสาว” ขับร้องโดย ศรชัย เมฆวิเชียร ได้รับรางวัลโล่

                                 พระราชทานเพลงดีเด่น  งานกึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทย ครั้งที่ 2  

-พ.ศ.2537 เพลง “ดีดพิณหาแฟน” ขับร้องโดย สุธรรม คำกลอง ได้รับรางวัลเพลงลูกทุ่ง

                                 ดีเด่นส่งเสริมวัฒนธรรมไทย 

-พ.ศ.2537 เพลง “เสียงซอสั่งสาว” ขับร้องโดย ศรชัย เมฆวิเชียร ได้รับโล่รางวัล งาน “กึ่ง

                                ศตวรรษเพลงลูกทุ่ง...สืบสานคุณค่าวัฒนธรรมไทย  จากนายปราโมทย์ สุขุม  รัฐมนตรี
                               ช่วยว่าการ กระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 18 ก.ย. 2537 

-พ.ศ.2538 ได้เข้ารับพระราชทานใบประกาศเกียรติคุณ จากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรม

                                สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในเพลง “เสียงซอสั่งสาว”  ขับร้อง
                                โดย ศรชัย เมฆวิเชียร  เมื่อวันที่ 7 มี.ค. 2538  

-พ.ศ.2542 เพลง “ฝากรักจากแดนไกล” ขับร้องโดย บานเย็น รากแก่น ได้รับรางวัล

                                 พระพิฆเณศทองพระราชทาน  จัดโดยสมาคมดนตรีแห่งประเทศไทยในพระบรม-
                                 ราชูปถัมภ์

-พ.ศ.2543 เพลง “ฝากใจไปอุบล” ขับร้องโดย สิทธิพร สุนทรพจน์ ได้รับรางวัล

                                 มาลัยทอง สาขาเรียบเรียงเสียงประสาน

-พ.ศ.2548 เพลง “กองไว้ตรงนั้น” ขับร้องโดย น้องผึ้ง บึงสามพัน ได้รับรางวัล “มาลัยทอง”

                                 ประเภท ดาวรุ่งลูกทุ่งหญิงยอดเยี่ยม

-พ.ศ.2553 ได้รับรางวัล “ครูผู้สร้างสรรค์ผลงานเพลง” จามสมาคมนักแต่งเพลงแห่งประเทศไทย -พ.ศ.2556 เพลง “ดอกงิ้วบานที่บ้านหมี่” ขับร้องโดย สิทธิพร สุนทรพจน์ ได้รับรางวัล

                                 ลูกทุ่งยอดเยี่ยม “ดาราสตาร์อวอร์ด”  

-พ.ศ.2557 ได้รับรางวัล “ศิลปินมรดกอีสาน” จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น -พ.ศ.2560 ได้รับโล่รางวัล งานเชิดชูครูเพลง จากสมาคมนักแต่งเพลงแห่งประเทศไทย