ผู้ใช้:Gea4556

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี

วิธีการเขียนโครงการ บทที่ 1

  1. เปลี่ยนทาง ธีการเขียนโครงการ บทที่ 1
                                                                    === ' บทที่ 1 ===
                                                                           บทนำ

1.1 ประวัติความเป็นมาของโครงการ

   ในยุคโลกาภิวัฒน์ดังเช่นในปัจจุบันนี้พลังงานไฟฟ้านับเป็นพลังงานที่สำคัญอย่างยิ่งจนอาจกล่าวได้ว่าสำคัญยิ่งกว่าพลังงานอื่นๆ ทั้งนี้ด้วยเหตุผลที่ว่าพลังงานไฟฟ้าสามารถเปลี่ยนรูปเป็นพลังงานอื่นๆ ได้หลากหลาย เช่น เปลี่ยนรูปเป็นพลังงานแสงเป็นพลังงานความร้อนเป็นพลังงานเสียงเป็นพลังงานกล เป็น

ต้น โดยใช้อุปกรณ์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ เป็นเครื่องมือในการเปลี่ยนรูปพลังงานพลังงานไฟฟ้าได้ก่อให้เกิดความสะดวกสบายต่อผู้ใช้พลังงานไฟฟ้าเป็นอย่างมาก และเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องแทบทุกเรื่องของการดำรงชีวิตประจำวันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในเรื่องของการใช้พัดลมไฟฟ้าแม้ว่าการใช้พัดลมไฟฟ้าแทนเครื่องปรับอากาศจะช่วยลดการใช้พลังงานไฟฟ้าได้อย่างมาก เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้เครื่องปรับอากาศก็ตาม แต่หากใช้อย่างไม่ประหยัดก็ยังถือว่าเป็นการสิ้นเปลืองพลังงานโดยเปล่าประโยชน์ เช่นกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้พัดลมขณะนอนหลับพักผ่อนในเวลากลางคืน ซึ่งจากการที่คณะผู้จัดทำโครงงานได้สังเกตพฤติกรรมการใช้พัดลม ขณะนอนหลับพักผ่อนในเวลากลางคืนของเพื่อนร่วมห้องพัก และสอบถามจากเพื่อนร่วมชั้นเรียน และญาติพี่น้องพบว่าส่วนใหญ่นิยมใช้พัดลมขณะนอนหลับพักผ่อนในเวลากลางคืน โดยเปิดทิ้งไว้ตลอดทั้งคืนหากอากาศเย็นลงในช่วงเวลาดึกมาก หรือย่ำรุ่งจะไม่ตื่นขึ้นมาปิดพัดลมแต่จะใช้วิธีห่มผ้าห่ม เพื่อคลายความหนาวแทนซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวถือเป็นการใช้พลังงานฟุ่มเฟือยอย่างมาก แต่ครั้นจะให้ตื่นขึ้นมาเพื่อปิดพัดลมหรือปรับระดับความแรงของลมก็คงไม่เป็นที่สะดวก และทำให้เกิดปัญหาการพักผ่อนไม่เต็มที่โดยเฉพาะผู้ที่ประสบปัญหาตื่นแล้วหลับยาก จากปัญหา และข้อสังเกตดังกล่าวประกอบกับความรู้ด้านไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ที่คณะผู้จัดทาสิ่งประดิษฐ์ได้ศึกษามาในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) จึงมีความสนใจที่จะศึกษาถึงการนำเอาไอซีไมโครคอนโทรลเลอร์ ซึ่งเป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์ชนิดหนึ่งมาควบคุมการทำงานของพัดลมไฟฟ้าให้สามารถปรับความเร็วในการหมุนของมอเตอร์พัดลมตามระดับอุณหภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปรวมทั้งให้สามารถหยุดการทำงานของมอเตอร์พัดลม เมื่ออุณหภูมิของอากาศลดลงถึงระดับที่กำหนดไว้ทั้งนี้เพื่อให้พัดลมไฟฟ้ามีอัตราการสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้าน้อยที่สุดอันเป็นการลดการใช้พลังงานไฟฟ้า และน่าจะช่วยลดปัญหาภาวะโลกร้อนได้อีกทางหนึ่ง

    วิทยาลัยเทคนิคอุบลราชธานีเล็งเห็นคุณค่าความสามารถ และสมรรถนะของนักศึกษาทางวิทยาลัยจึงเปิดโอกาสให้นักศึกษาเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดโดยผ่านการเรียนรู้ในรายวิชาโครงการ (Project) เพื่อตรงตามปรัชญาของวิทยาลัยที่ว่า “ความรู้ดีฝีมือเยี่ยมเปี่ยมคุณธรรมเป็นผู้นำทางอาชีพ” และนำความรู้ที่ได้เรียนมาบูรณาการเพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อชุมชน ซึ่งจะเป็นการจุดประกายให้นักศึกษาได้เห็น และสามารถสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ ได้อยู่ตลอดเวลาอันจะส่งผลให้นักศึกษาสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียน และการประกอบวิชาชีพได้อย่างเป็นจริง และมีประสิทธิภาพอีกด้วยนักศึกษาในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ปีที่ 3 วิทยาลัยเทคนิคอุบลราชธานี จึงได้จัดทำพัดลมปรับความเร็วตามอุณหภูมิ เพื่อให้สามารถควบคุมการทำงานของพัดลมไฟฟ้าให้สามารถปรับความเร็วในการหมุนของมอเตอร์พัดลมตามระดับอุณหภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปรวมทั้งให้สามารถหยุดการทำงานของมอเตอร์พัดลมเมื่ออุณหภูมิของอากาศลดลงถึงระดับที่กำหนดไว้

1.2 วัตถุประสงค์ของโครงการ

   1.2.1 เพื่อพัฒนาพัดลมแบบปกติเป็นพัดลมไฟฟ้าประหยัดพลังงาน
   1.2.2 เพื่อศึกษาการนำไอซี DS1820 มาใช้ในกันตรวจวัดอุณหภูมิ
   1.2.3 เพื่อศึกษาการนำไอซีไมโครคอนโทรลเลอร์มาใช้ควบคุมวงจรทั้งหมดของพัดลมไฟฟ้าโดยการเขียนโปรแกรม
   1.2.4 เพื่อเปรียบเทียบอัตราการสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้าระหว่างพัดลมไฟฟ้าปกติกับพัดลมไฟฟ้าประหยัดพลังงานที่คณะผู้จัดทาโครงงานพัฒนาขึ้น
   1.2.5 เพื่ออานวยความสะดวกในการใช้งานพัดลม

1.3 ขอบเขตของโครงการ

   1.3.1 อุปกรณ์ตรวจวัดอุณหภูมิ DS1820 วัดอุณหภูมิได้โดยไม่ต้องต่ออุปกรณ์ร่วมมีย่านวัดอยู่ที่ +125 ถึง -55C มีความละเอียดในการวัดได้ 0.5C และสามารถ Interface โดยใช้สายสัญญาณเพียงเส้นเดียว
   1.3.2 เมื่ออุปกรณ์ตรวจวัดอุณหภูมิวัดอุณหภูมิได้ต่ำกว่า 25°C สวิตช์พัดลมจะสั่งตัดไฟโดยตัวรีเลย์ที่อุณหภูมิ 25 - 26Cสวิตช์พัดลมจะทางานที่ระดับเบอร์ 1 ที่อุณหภูมิ 26 - 33C สวิตช์พัดลมจะทำงานที่ระดับเบอร์ 2 ที่อุณหภูมิ 33 - 40Cสวิตช์พัดลมจะทางานที่ระดับเบอร์ 3 
   1.3.3 การทางานของรีเลย์จะถูกควบคุมด้วยไมโครคอนโทรลเลอร์
   1.3.4 อุณหภูมิที่วัดได้จะแสดงผลด้วย LED 7 ส่วนจานวน 2 หลัก

1.4 ประโยชน์ที่จะได้รับจากโครงการ

   1.4.1 เป็นแนวทางในการพัฒนาพัดลมประหยัดพลังงานเพื่อผลิตในเชิงอุตสาหกรรม
   1.4.2 แนวทางในการนาไอซี DS 1820 ใช้งานร่วมกับไมโครคอนโทรลเลอร์ตรวจวัดอุณหภูมิโดยใช้ควบคุมเครื่องกลไฟฟ้า
   1.4.3 ช่วยลดค่าไฟฟ้าในแต่ละเดือน
   1.4.4 พัดลมไฟฟ้าประหยัดพลังงานที่สร้างขึ้นสามารถทางานได้ทั้งโหมดควบคุมด้วยมือและทางานโดยอัตโนมัติ
   1.4.5 เพิ่มความสะดวกสบายในการนอนหลับพักผ่อนกรณีที่ต้องเปิดพัดลมไฟฟ้าเพื่อคลายความร้อน

1.5 วิธีดำเนินการ

     ตารางที่ 1.1 วิธีดำเนินการ


1.6 นิยามศัพท์

   1.6.1 ตัวต้านทาน (Resistor) หมายถึง เป็นอุปกรณ์ที่ผลิตขึ้นมาใช้ในการต้านการไหลของกระแสไฟฟ้า
   1.6.2 ตัวต้านทานชนิดปรับค่าได้ (Variable Resistor) หมายถึง เป็นตัวต้านทานที่สามารถเปลี่ยนแปลงค่าได้
   1.6.3 ตัวต้านทานชนิดค่าคงที่ (Fixed Resistors) หมายถึง เป็นตัวต้านทานที่มีค่าถูกกำหนดไว้แน่นอนเพียงค่าเดียว
   1.6.4 เซ็นเซอร์ความชื้นแบบรีซีสตีฟ (Resistive Humidity Sensor) หมายถึง เซ็นเซอร์ความชื้นที่จะวัดการเปลี่ยนแปลงอิมพีแดนซ์ไฟฟ้าของตัวกลางดูดความชื้น
   1.6.5 Plunger หมายถึง ลูกสูบปิดเปิดแก๊สส่วนหัวจะมียางด้วย