ภาคผนวก:รายการคำราชาศัพท์
หน้าตา
เพื่อให้เข้าใจลำดับคำราชาศัพท์ ควรเข้าใจลำดับพระราชวงศ์ (และเทียบเท่า) ดังนี้
- ลำดับ ๑)
- พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
- สมเด็จพระบรมราชินีนาถ
- ลำดับ ๒)
- สมเด็จพระราชินี
- สมเด็จพระราชชนก, สมเด็จพระราชชนนี
- สมเด็จพระบรมราชกุมาร, สมเด็จพระบรมราชกุมารี
- สมเด็จพระยุพราช
- ลำดับ ๓)
- สมเด็จเจ้าฟ้า
- ลำดับ ๔)
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ, พระองค์เจ้า(ชั้นเอก) ซึ่งเป็นพระราชโอรส พระราชธิดา ในพระเจ้าอยู่หัวทุกรัชกาล และ สมเด็จพระสังฆราช
- ลำดับ ๕)
- พระเจ้าวรวงศ์เธอ, พระองค์เจ้า(ชั้นโท) ทั้งที่ทรงกรมและไม่ทรงกรม และพระวรวงศ์เธอ, พระองค์เจ้า(ชั้นตรี) ที่ทรงกรม
- ลำดับ ๖)
- พระวรวงศ์เธอ, พระองค์เจ้า(ชั้นตรี) ที่ไม่ทรงกรม
- ลำดับ ๗)
- หม่อมเจ้า
- หมายเหตุ)
- พระภรรยาเจ้าในรัชกาลที่ ๖ ทุกพระองค์ ยกเว้น พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวีใช้คำราชาศัพท์เทียบเท่าพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้า แต่พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ที่จะทรงใช้ราชาศัพท์เทียบเท่า สมเด็จเจ้าฟ้า
- เกิด
- ทรงพระราชสมภพ (พระราชา, พระราชินี, พระบรมราชชนนี, พระยุพราช, พระบรมราชกุมาร, พระบรมราชกุมารี)
- ประสูติ, สมภพ (พระราชวงศ์ )
( ข้อยกเว้น วันเกิด เฉพาะสำหรับ พระเจ้าอยู่หัว, สมเด็จพระราชินี ใช้ วันพระบรมราชสมภพ )
- เกิด[1]
- ทรงพระราชสมภพ, มีพระบรมราชสมภพ, เสด็จพระราชสมภพ (พระมหากษัตริย์)
- ทรงพระราชสมภพ, มีพระราชสมภพ, เสด็จพระราชสมภพ (สมเด็จพระบรมราชินีนาถ, สมเด็จพระบรมราชินี, สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมุฏราชกุมาร, สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี)
- ประสูติ (พระบรมวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้า ลงมาจนถึงพระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้า)
- อายุ
- พระชนมายุ (พระมหากษัตริย์, พระราชินี, พระบรมราชชนนี, พระยุพราช, พระบรมราชกุมาร, พระบรมราชกุมารี, สมเด็จเจ้าฟ้า) เช่น
- พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมายุครบ 84 พรรษา ในวันที่ 5 ธันวาคม 2554
- สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ มีพระชนมายุครบ 80 พรรษา ในปี 2555
- สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงมีพระชนมายุครบ 6 รอบ 60 พรรษา
- สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี สวรรคตขณะมีพระชนมายุ 94 พรรษา 240 วัน
- สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ทรงเจริญพระชนมายุครบ 84 พรรษา
- พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี สิ้นพระชนม์ ขณะพระชนมายุ 80 พรรษา เศษ
- พระชันษา (พระองค์เจ้า, พระสังฆราช)
- สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรราชชายา ทรงสิ้นพระชนม์เมื่อพระชันษาได้ 73 ชันษา
- สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก เจริญพระชันษา 100 ปี ในวันที่ 3 ตุลาคม 2556
- พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ มีพระชันษา 26 ปี
- ชันษา (พระอนุวงศ์)
- หม่อมเจ้าพูนพิศมัย ดิศกุล สิ้นชีพตักษัย สิริชันษาได้ 95 ปี
- ลงชื่อ
- ลงพระปรมาภิไธย (พระมหากษัตริย์)เช่น
- พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงลงพระปรมาภิไธยในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
- ลงพระนามาภิไธย (พระราชินี, พระบรมราชชนนี, พระยุพราช, พระบรมราชกุมาร, พระบรมราชกุมารี, สมเด็จเจ้าฟ้า)
- สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงลงพระนามาภิไธยในสมุดเยี่ยม
- สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ทรงลงพระนามาภิไธยที่ระลึก ที่โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร
- พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ทรงลงพระนามาภิไธยเป็นที่ระลึก ที่หน้าถ้ำพระพุทธฉาย
- ลงพระนาม (พระองค์เจ้า, พระสังฆราช)
- ลงนาม (พระอนุวงศ์)
- ป่วย
- ทรงพระประชวร (พระราชา)
- ประชวร (เจ้านาย พระราชวงศ์ , พระสังฆราช)
- อาพาธ (พระ, เณร)
- ป่วย[2]
- ทรงพระประชวร (พระมหากษัตริย์, สมเด็จพระบรมราชินีนาถ, สมเด็จพระบรมราชินี, สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร, สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี)
- ประชวร (พระบรมวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้า ลงมาจนถึงพระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้า)
- ตาย
- สวรรคต (พระเจ้าอยู่หัว, พระราชินี, พระบรมราชชนนี, พระยุพราช, พระบรมราชกุมาร, พระบรมราชกุมารี, พระบรมราชวงศ์ที่ได้รับพระราชทานฉัตร ๗ ชั้น)
- ทิวงคต (พระยุพราช, เจ้าฟ้าที่ได้รับเฉลิมพระยศพิเศษ, พระราชาต่างประเทศ)
- สิ้นพระชนม์ (สมเด็จเจ้าฟ้า, พระองค์เจ้า, สมเด็จพระสังฆราช)
- สิ้นชีพตักษัย, ถึงชีพิตักษัย (หม่อมเจ้า)
- ถึงแก่พิราลัย, ถึงพิราลัย (เจ้าประเทศราช, สมเด็จเจ้าพระยา)
- ถึงแก่มรณภาพ, มรณภาพ (พระ, เณร)
- ถึงแก่อสัญกรรม (องคมนตรี, ประธานองคมนตรี, รัฐมนตรี, นายกรัฐมนตรี, ประธานสภา, เจ้าพระยา, ผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นปฐมจุลจอมเกล้า, ประธานาธิบดีต่างประเทศ)
- ถึงแก่อนิจกรรม (พระยา, ผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นปถมาภรณ์มงกุฎไทย/ทุติยจุลจอมเกล้า, ผู้ได้รับเป็นกรณีพิเศษ)
- ถึงแก่กรรม, สิ้นชีวิต, เสียชีวิต, มรณะ (สุภาพ)
- ตาย[3]
- สวรรคต, เสด็จสวรรคต (พระมหากษัตริย์, สมเด็จพระบรมราชินีนาถ, สมเด็จพระบรมราชินี, สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร, พระบรมราชวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้าที่ทรงพระเศวตฉัตร ๗ ชั้น)
- ทิวงคต (พระบรมราชวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้าที่ได้รับการเฉลิมพระยศพิเศษ)
- สิ้นพระชนม์ (พระบรมราชวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้า ลงมาจนถึงพระอนุวงศ์ชั้นพระองค์เจ้า)
- ถึงชีพิตักษัย, สิ้นชีพตักษัย (พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้า)
- คำพูด
- พระราชดำรัส, พระราชกระแส (พระราชา)
- รับสั่ง (พระราชวงศ์, พระอนุวงศ์)
- พูด
- มีพระราชดำรัส, มีกระแสพระราชดำรัส (พระราชา, พระราชินี, พระยุพราช, พระบรมราชกุมาร, พระบรมราชกุมารี)
- รับสั่ง, มีพระดำรัส (พระราชวงศ์)
- ดำรัส, ตรัส (พระองค์เจ้า, หม่อมเจ้า)
( ข้อยกเว้น ตรัส, รับสั่ง สำหรับ พระราชา, พระราชินี, พระบรมราชกุมาร, พระบรมราชกุมารี ใช้ในกรณีเรื่องธรรมดา )
- พูด[4]
- มีพระราชดำรัส, มีพระราชกระแส, มีกระแสพระราชดำรัส (พระมหากษัตริย์, สมเด็จพระบรมราชินีนาถ, สมเด็จพระบรมราชินี, สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมุฏราชกุมาร, สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี)
- มีพระดำรัส, ดำรัส, มีรับสั่ง (พระบรมราชวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้า ลงมาจนถึงพระอนุวงศ์ชั้นพระองค์เจ้า)
- รับสั่ง, มีรับสั่ง (พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้า)
- ให้[5]
- พระราชทาน (พระมหากษัตริย์, สมเด็จพระบรมราชินีนาถ, สมเด็จพระบรมราชินี, สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมุฏราชกุมาร, สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี)
- พระราชทาน, ประทาน (โบราณ) (พระบรมราชวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้า)
- ประทาน (พระบรมราชวงศ์ชั้นพระองค์เจ้า ลงมาจนถึงพระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้า)
- คำสอน
- พระบรมราโชวาท (พระราชา)
- พระโอวาท (เจ้านาย พระราชวงศ์)
- สอน
- มีพระบรมราโชวาท (พระราชา)
- มีพระโอวาท (เจ้านาย พระราชวงศ์)
- ให้โอวาท[6]
- มีพระบรมราโชวาท, พระราชทานพระบรมราโชวาท (พระมหากษัตริย์)
- มีพระราโชวาท, พระราชทานพระราโชวาท (สมเด็จพระบรมราชินีนาถ, สมเด็จพระบรมราชินี, สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมุฏราชกุมาร, สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี)
- มีพระโอวาท, พระราชทานพระโอวาท, ประทานพระโอวาท (โบราณ) (พระบรมวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้า)
- มีพระโอวาท, ประทานพระโอวาท (พระอนุวงศ์ชั้นพระองค์เจ้า)
- มีโอวาท, ประทานโอวาท (พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้า)
- โอวาท[7]
- พระบรมราโชวาท (พระมหากษัตริย์)
- พระราโชวาท (สมเด็จพระบรมราชินีนาถ, สมเด็จพระบรมราชินี, สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมุฏราชกุมาร, สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี)
- พระโอวาท (พระบรมวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้า ลงมาจนถึงพระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้า)
- สั่ง[8]
- มีพระราชกระแส, มีพระราชกระแสรับสั่ง, มีพระราชดำรัสสั่ง (พระมหากษัตริย์) (มีพระบรมราชโองการ หมายถึง สั่ง เรื่องสำคัญเป็นทางการ ซึ่งต้องมีผู้สนองพระบรมราชโองการ)
- มีพระราชเสาวนีย์, มีพระราชดำรัสสั่ง (สมเด็จพระบรมราชินีนาถ, สมเด็จพระบรมราชินี)
- มีพระราชบัณฑูร, มีพระราชดำรัสสั่ง (สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร)
- มีพระราชบัญชา, มีพระราชดำรัสสั่ง (สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี)
- มีพระดำรัสสั่ง, มีรับสั่ง (พระบรมราชวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้า ลงมาจนถึงพระอนุวงศ์ชั้นพระองค์เจ้า)
- มีรับสั่ง (พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้า)
- คำสั่ง
- พระบรมราชโองการ (พระราชา)
- พระราชเสาวนีย์, พระเสาวนีย์ (พระราชินี, พระราชชนนี)
- พระราชโองการ (พระราชาต่างประเทศ)
- พระราชดำรัสสั่ง (พระยุพราช, พระบรมราชกุมาร, พระบรมราชกุมารี, พระราชวงศ์)
- พระราชบัณฑูร (พระบรมราชกุมาร)
- พระราชบัญชา (พระบรมราชกุมารี)
- พระบัญชา (สมเด็จเจ้าฟ้า, พระองค์เจ้า, พระอนุวงศ์, พระสังฆราช)
- พระประศาสน์ (สมเด็จเจ้าพระยา)
- บัญชา (นายกรัฐมนตรี)
- คำอธิบาย
- พระบรมราชาธิบาย (พระราชา)
- พระราชาธิบาย (พระราชินี, พระราชชนนี)
- คำถาม
- พระราชปุจฉา
- คำถาม[9]
- มีพระราชกระแสรับสั่งถาม, มีพระราชดำรัสถาม (พระมหากษัตริย์, สมเด็จพระบรมราชินีนาถ, สมเด็จพระบรมราชินี, สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร, สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี) (มีพระราชปุจฉา หมายถึง ถามข้อปัญหาธรรมอย่างเป็นทางการ ใช้แก่ พะมหากษัตริย์ และกรมพระราชวังบวร)
- มีรับสั่งถาม (พระบรมราชวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้า ลงมาจนถึงพระอนุวงศ์ชั้นพระองค์เจ้า)
- ทรงถาม (พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้า)
- คำตัดสิน
- พระบรมราชวินิจฉัย (พระราชา)
- ตัดสินใจ[10]
- ตัดสินพระราชหฤทัย (พระมหากษัตริย์, สมเด็จพระบรมราชินีนาถ, สมเด็จพระบรมราชินี, สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร, สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี)
- ตัดสินพระหฤทัย (พระบรมวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้า ลงมาจนถึงพระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้า)
- วินิจฉัย[11]
- มีพระบรมราชวินิจฉัย (พระมหากษัตริย์)
- มีพระราชวินิจฉัย (สมเด็จพระบรมราชินีนาถ, สมเด็จพระบรมราชินี, สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร, สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี)
- มีพระวินิจฉัย (พระบรมราชวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้า ลงมาจนถึงพระอนุวงศ์ชั้นพระองค์เจ้า)
- ทรงวินิจฉัย (พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้า)
- คำทักทาย
- พระราชปฏิสันถาร (พระราชา, พระราชินี)
- พระปฏิสันถาร (พระราชวงศ์ชั้นสูง)
- พระดำรัสทักทาย (พระราชวงศ์)
- คำพูดทักทาย[12]
- พระราชดำรัสปฏิสันถาร (พระมหากษัตริย์, สมเด็จพระบรมราชินีนาถ, สมเด็จพระบรมราชินี, สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมุฏราชกุมาร, สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี)
- พระดำรัสปฏิสันถาร (พระบรมราชวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้า ลงมาจนถึงพระอนุวงศ์ชั้นพระองค์เจ้า)
- ผลงานประพันธ์ [13]
- พระราชนิพนธ์ (พระมหากษัตริย์, พระราชินี, พระยุพราช, พระบรมราชกุมาร, พระบรมราชกุมารี, พระราชชนก, พระราชชนนี) เช่น
- พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงพระราชนิพนธ์ "ไชยเชษฐ์" "สังข์ทอง" "ไกรทอง" "มณีพิชัย" "คาวี"
- พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์ "ไกลบ้าน"
- พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์ "เวณิสวานิช"
- พระนิพนธ์ (พระบรมวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้า - พระอนุวงศ์ชั้นพระองค์เจ้า) เช่น
- สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงพระนิพนธ์ "ความทรงจำ"
- สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ ทรงพระนิพนธ์ "จุฬาลงกรณราชสันตติวงศ์" "พระราชธิดาในรัชกาลที่ ๕" "เจ้านายเล็กๆ-ยุวกษัตริย์" "ไปรษณียบัตรเจ้าฟ้า"
- นิพนธ์ (หม่อมเจ้า) เช่น
- หม่อมเจ้าอากาศดำเกิง รพีพัฒน์ ทรงนิพนธ์ "ละครแห่งชีวิต" "วิมานทลาย"
อ้างอิง
[แก้ไข]- ↑ ราชบัณฑิตยสถาน. (๒๕๕๐). ราชาศัพท์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน. หน้า ๑๐๘
- ↑ ราชบัณฑิตยสถาน. (๒๕๕๐). เล่มเดิม. หน้า ๑๒๙
- ↑ ราชบัณฑิตยสถาน. (๒๕๕๐). เล่มเดิม. หน้า ๑๒๐
- ↑ ราชบัณฑิตยสถาน. (๒๕๕๐). เล่มเดิม. หน้า ๑๓๒
- ↑ ราชบัณฑิตยสถาน. (๒๕๕๐). เล่มเดิม. หน้า ๑๔๔
- ↑ ราชบัณฑิตยสถาน. (๒๕๕๐). เล่มเดิม. หน้า ๑๔๕
- ↑ ราชบัณฑิตยสถาน. (๒๕๕๐). เล่มเดิม. หน้า ๘๕
- ↑ ราชบัณฑิตยสถาน. (๒๕๕๐). เล่มเดิม. หน้า ๑๔๑-๑๔๒
- ↑ ราชบัณฑิตยสถาน. (๒๕๕๐). เล่มเดิม. หน้า ๑๒๒
- ↑ ราชบัณฑิตยสถาน. (๒๕๕๐). เล่มเดิม. หน้า ๑๑๙
- ↑ ราชบัณฑิตยสถาน. (๒๕๕๐). เล่มเดิม. หน้า ๑๓๙
- ↑ ราชบัณฑิตยสถาน. (๒๕๕๐). เล่มเดิม. หน้า ๗๗
- ↑ เดลินิวส์
ราชบัณฑิตยสถาน. (๒๕๕๐). ราชาศัพท์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.
ดูเพิ่ม
[แก้ไข]- คำราชาศัพท์ (เชิงความหมายและที่มาของคำ)