ข้ามไปเนื้อหา

วิกิพจนานุกรม:เกี่ยวกับภาษาคำเมือง

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี

ภาษาคำเมือง (รหัสภาษา nod) หรือเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า ภาษาเหนือ ส่วนราชบัณฑิตยสภาเรียกว่า ภาษาไทยถิ่นเหนือ เป็นภาษาที่พูดกันบริเวณภาคเหนือของประเทศไทย และบางส่วนของประเทศพม่า ลาว จีน ที่อยู่ติดกัน ลักษณะของคำศัพท์คล้ายภาษากลุ่มไทอื่น ๆ ภาษานี้มีมาตั้งสมัยสุโขทัยเป็นราชธานี มีอักษรใช้เขียนเรียกว่าตัวเมืองหรืออักษรธรรม (ยูนิโคดเรียกว่าอักษรไทธรรม) แต่ด้วยข้อจำกัดของระบบคอมพิวเตอร์ ก่อนที่จะมีอักษรไทธรรมในยูนิโคด ก็ต้องเขียนแทนด้วยอักษรไทยโดยวิธีเทียบเสียง หรือใช้ฟอนต์แทนที่อักษรไทย ในขณะเดียวกันการสะกดสมัยโบราณก็แตกต่างกันไปตามสำนัก ปัจจุบันได้มีการรื้อฟื้นอักขรวิธีที่เป็นมาตรฐาน วิกิพจนานุกรมจึงให้ภาษาคำเมืองที่เขียนด้วยอักษรไทธรรมเป็นคำหลัก ส่วนอักษรไทยเทียบเสียงเป็นรูปแบบอื่น

ข้อควรพิจารณาเกี่ยวกับการเขียนคำภาษาคำเมืองมีดังนี้

  • ◌ᩕ (◌ร) และ ◌ᩖ (◌ล) ใช้เป็นตัวควบกล้ำพยัญชนะต้น (ซึ่งจะออกเสียงหรือไม่ก็ได้) หรืออักษรตามของ ()
  • ◌᩠ᩁ (◌ร) และ ◌᩠ᩃ (◌ล) ใช้เป็นพยัญชนะสะกด กรณี ᩉ᩠ᩃ ถือว่าเป็นรูปแบบอื่นของ ᩉᩖ
  • ◌ᩕ (◌ร) สามารถพบได้ในกลุ่มพยัญชนะสะกด ที่มาจากภาษาสันสกฤต เช่น ᩆᩣᩈ᩠ᨲᩕ᩺ (ศาสตร์)
  • ᨿ () ที่เป็นพยัญชนะสะกด หรือส่วนประกอบของสระเอีย จะอยู่ในรูป ◌᩠ᨿ (◌ย) เสมอ
  • () ที่เป็นส่วนประกอบของสระล่าง ใช้รูป ◌ᩬ (◌อ) เสมอ ไม่ใช้ ◌᩠ᩋ (◌อ)
  • ไม่ใช้ ◌ᩗ (◌ล) และ ◌ᩭ (◌อย) เพราะไม่ได้เป็นตัวอักษรของภาษาคำเมือง
  • สระหน้า (↶เ), (↶แ), (↶โ), (↶ไ), (↶ใ) ต้องใส่หลังจากพยัญชนะต้น อักษรนำ-อักษรตาม และอักษรควบกล้ำ ตามวิธีของยูนิโคด
  • สระเออและเอือ ใช้รูปสระ ◌ᩥ (◌ิ) ประกอบเสมอ
  • กรณีที่มีรูปสระล่างพร้อมกับรูปสระบน (รวมทั้งวรรณยุกต์) เช่น สระออ สระเอือ สระเออ ให้ใส่รูปสระจากล่างขึ้นบน (L2/17-120)
  • สระอำ ให้ใส่รูปสระอาก่อน (ต่ำหรือสูง) และใส่นิคหิตบนรูปสระอา ให้ฟอนต์จัดลักษณะปรากฏเอง (L2/17-120) ส่วนวรรณยุกต์ประกอบอยู่กับพยัญชนะต้นอยู่แล้ว
  • คำที่มาจากภาษาบาลี-สันสกฤต จะสะกดด้วยอักขรวิธีคล้ายแบบที่ใช้เขียนภาษาบาลี-สันสกฤต เช่น ᩈᩢᨶ᩠ᨲᩥ (สันติ) จะไม่เขียนว่า ᩈᩢ᩠ᨶᨲᩥ